วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

หัวข้อการเรียนรู้ของนักลงทุนหุ้นมือใหม่

คำถามยอดนิยมของนักลงทุนหุ้นมือใหม่ มักจะมีคำถามว่าตนเองอยากลงทุนหุ้น ต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับหุ้นอะไรบ้าง เห็นเขาเล่ากันว่าแบ่งสายเป็น VI Value Investment , Technical trading สายเทคนิคใช้กราฟ เคยได้ยินว่า VI ซื้อหุ้นแบบเป็นเจ้าของกิจการ Technic ใช้เก็งกำไร เรามาดูหัวข้อในมุมกว้างๆ ของทั้งสองแบบ

การลงทุนหุ้นไม่ว่าจะแบบใด ก็มีคำถามหลักที่ว่า ซื้อหุ้นอะไร ซื้อราคาไหน ขายราคาไหน การคัดเลือกค้นหาหุ้นในลักษณะ VI จะมีลักษณะที่โดดเด่นในการมองลึกเข้าไปถึงกิจการ แล้วทำการซื้อขาย โดยเทียบกับ มูลค่ากิจการ แบบประเมิน การคัดเลือกหุ้นแบบนี้มักจะได้กิจการที่มีความได้เปรียบ เมื่อเศรษฐกิจเจริญเติบโต กิจการแบบนี้จะได้ประโยชน์อย่างมาก แต่การคำนวณมูลค่ากิจการแบบประเมินมักมีจุดอ่อนที่ต้องใช้ตัวเลขประมาณการจำนวนมากซึ่งสำหรับมือใหม่ไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ๆ แต่สำหรับระดับมืออาชีพมักจะเลือกกิจการที่ประเมิน คาดเดาได้ง่าย การประเมินแต่ละครั้งมักใกล้เคียงกับสิ่งที่เกิด ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเลือกกิจการที่เติบโตแบบคาดเดาได้ง่ายนั่นเอง เป็นการยากที่นักลงทุนมือใหม่จะหากิจการแบบนี้เจอ

ทางแก้ใน สาย Technic คือเน้นในจังหวะซื้อขาย เข้าออกโดยมีปรัชญาว่า Everything discount in price. คือปัจจัยทุกอย่าง ย้ำว่าทุกอย่าง ไม่ว่าน้ำท่วม ไฟไหม้ mob ฝนตกแดดออกก็รวมใน price ทั้งหมด จังหวะซื้อขายส่วนมากจะคำนวณมาจากราคาปิด ในอดีตแล้วนำมาเปรียบเทียบกันไม่ว่าจะทำด้วย สูตรคณิตศาสตร์หรือ เรขาคณิต เนื่องจากจังหวะซื้อขายที่เข้าออกบ่อย การทำเป็นระบบ systematic trading ที่รวม จังหวะเข้าออก จาก indicator ทีคำนวณราคาปิด, การปรับ Risk Reward ให้เหมาะสมที่มาจาก Money management จึงเป็นทางออกที่ง่ายและเหมาะสมต่อการใช้งาน

นอกจากการทำ systematic trading แล้ว indicator และ ราคายังสามารถสร้างศิลปะแห่งการทำนาย(ที่เรียกว่าศิลปะเพราะต่างคนก็ต่างมุมมองได้ มันไม่ใช่คณิตศาสตร์ที่ใส่ input แล้วได้ผลลัพธ์เดิม) ซึ่งเป็นหัวข้อที่นิยมสอนเรียน เขียนหนังสือ เล่า และอบรมซึ่งจริงๆแล้ว การทำนายก็คุณภาพเท่ากับการทำนายทั่วๆไปที่ไม่แม่นมากนัก เหมาะจะเอามาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้กำลังใจมากกว่าจะใช้ให้ได้ผลอย่างจริงจัง ใครทายแม่นก็ดัง พอทายผิดก็โดนบ่น แล้วก็เปลี่ยนคนมาทาย ทำซ้ำไปเรื่อยๆ ซึ่งจะสร้างชื่อเสียงได้ดีในคนทั่วๆไปที่นิยมความแม่นยำ ที่ต่างจาก systematic trading ที่เน้นความเสี่ยงและกำไรรวม

การประยุกต์ใช้ systematic trading มาใช้กับหุ้นที่ VI เลือกดูจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม คือได้กำไรไม่มากเท่า VI ตัวจริงที่ถือยาวตลอดไปจนกว่าพื้นฐานจะเปลี่ยน และไม่จำเป็นต้องกังวลว่าจะคำนวณมูลค่ากิจการ margin of safety ได้แพงหรือถูกเกินไป ตัวเลขแต่ละตัวไม่เป็นมิตรต่อคนประเมิน ถ้าใส่ผิดนิดเดียวค่าผิดกันไกล การใช้ระบบที่ให้สัญญาณ indicator ซื้อขายที่เหมาะสม จะปรับต้นทุนให้มุ่งไปสู่มูลค่ากิจการที่เหมาะสมได้ ซื้อแพงแล้วย้อนลงก็ขาย ขาดทุน ขึ้นใหม่ก็ซื้อแล้วไปขายบนๆกำไรก็กลับมาทำซ้ำๆในหุ้นที่ดีตัวเดิม กำไรก็ใกล้เคียงกับการถือยาว ดังจะเห็นได้จาก การทดสอบ MACD ที่บางครั้งให้กำไร ดีกว่า Buy&Hold(วิธีที่ VI ใช้กัน)
แต่ในความเป็นจริง VI ตัวจริงจะได้กำไรมากกว่า systematic อยู่พอสมควร เพราะ การขายถ้าขายแล้วขึ้นต่อ แล้วซื้อกลับทุนจะสูงขึ้น คิดแล้วจะเสียเปรียบการถือแช่เฉยๆ บ.ที่ VI เลือกลักษณะมักจะพักตัวเหมือนจะย้อนลง แต่ก็ขึ้นต่อเนื่อง คนแย่งกันซื้อเยอะ
นักลงทุนมือใหม่คงไม่ใช่ VI ตั้งแต่ซื้อหุ้นตัวแรกๆ การมีระบบช่วยซื้อขาย จะเป็นการลดความเสี่ยงขาลงถ้าเลือกหุ้นผิดตัว

นำเสนอหัวข้อโดยมุมกว้างเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาสำหรับนักลงทุนหุ้นมือใหม่ บางทีมักจะถามว่าอยากได้หนังสือเกี่ยวกับหุ้น หลังจากดูหัวข้อเหล่านี้ก็จะพบว่า หนังสือที่เขียนภาษาไทยส่วนมากจะเขียนหัวข้อซ้ำๆกันไม่กี่เรื่องเช่น
  • การทำธุรกรรม อธิบายว่าหุ้นคืออะไร ซื้อขายอย่างไร ได้ปันผลอย่างไรเป็นการปูพื้น เล่นหุ้นออนไลน์ง่ายจัง หุ้นง่ายๆสไตล์เซียนแมว เน้นเอาสนุกสนานจูงใจด้วยตัวการ์ตูน แต่คนอ่านคงเลยวัยการ์ตูนมานานแล้ว เข้าใจว่าเน้นดึงดูดความสนใจ ไม่ให้น่ากลัวเหมือนหนังสือบัญชีในมหาวิทยาลัย
  • ถ้าหนังสือที่เกี่ยวกับการคัดเลือกกิจการ ก็จะเขียนเรื่อง งบการเงิน ลักษณะความได้เปรียบ มองธรุกิจแบบสัญชาตญาณว่าแบบนี้ต้องดีแน่ๆ แต่ก็มักไม่กล่าวถึงเรื่องการมองอุตสาหกรรมในระยะยาว เศรษฐกิจมหภาค เพราะผู้เขียนอาจผ่านประสบการณ์ช่วงนั้นมาแต่ไม่ได้รู้รอบทุกอุตสาหกรรมจึงไม่ได้กล่าวถึงหรือวิธีแยก กลุ่มที่ดี
  • ความได้เปรียบเชิงแข่งขัน หนังสือไทยที่ดีมักเป็นหนังสือแปลที่แนะนำคือ Buffettology ที่ให้ข้อพิจารณาอย่างชัดเจนในการคัดเลือกบ.ที่ได้เปรียบ และการเปรียบเทียบราคาที่น่าซื้อ แต่วิธีแบบนี้ก็ยังต้องนำมาปรับเพื่อให้เข้ากับบ.ในไทยที่ไม่ได้เน้น การทำอุตสาหกรรมที่ได้เปรียบในการแข่งขันอย่างถาวร ส่วนหนังสือแปลอื่นๆ เช่น Common stock Uncommon profit,Intelligent investor นอกจากจะกล่าวเรื่องนี้ยังมีเรื่องอื่นๆที่ครอบคลุมเกี่ยวกับหุ้นอย่างมากด้วย หนังสือไม่ได้มุ่งบอกไปถึงความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างเดียว แต่บอกไปถึงการประเมิน การคัดเลือกหุ้นด้วย, หนังสือที่กล่าวเป็นสิ่งที่เขียนไว้นาน มีบางอย่างไม่ทันสมัย ต้องปรับแก้ให้เข้ายุค เช่น PBV<1 ซื้อกันหลายๆตัวรอให้ขึ้น ถ้าทำใน SET ที่ PE 15 ทุนคงจมไปทั้งหมด เพราะขณะที่เศรษฐกิจขยายตัวแต่กลับมีหุ้นที่ราคาถูกกว่าทุนที่ตั้งบ. บ.แบบนั้นยากจะเป็นบ.ที่ดี, หนังสือนอกจากนี้จะเป็นหนังสือที่เขียนในมุมมองอื่นๆ ชอบก็สะสมมาอ่าน
  • ถ้าเป็นหนังสือเกี่ยวกับ technic มักเน้นเรื่อง indicator candlestick pattern เน้นว่าเอาไปทำอะไรบ้างแต่ก็ไม่ได้บอก ถ้าใช้แล้วอันไหนดี อันไหนต่อให้ทำตามให้เก่ง ให้ถูกต้องตามหนังสือได้อย่างตรงตามหนังสือที่สุด แต่ผลลัพธ์ที่ได้อาจบาดเจ็บสาหัสได้ถ้าไม่รู้ลึก รู้จริงว่าวิธีบางอย่างในหนังสือเหล่านี้ได้ล้าสมัยไปแล้ว
  • หนังสือเกี่ยวกับ systematic trading ภาษาไทยหายาก หนังสืออังกฤษ The Turtle way, อย่าเข้าใจผิดว่าคือเซียนเต่า ในชื่อไทยเนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด
ดูในภาพจะเห็นว่ามีเรื่องที่ต้องรู้มากกว่านั้นเยอะมาก ซึ่งผลลัพธ์ถ้ารู้แค่สิ่งที่อ่านในหนังสือ อาจไม่เพียงพอ แหล่งที่มาของเรื่องอื่นๆ ต้องฝึกฝนพึ่งหนังสือไม่เพียงพอ บทความภาษาอังกฤษในต่างประเทศจะมีคุณภาพและครอบคลุมมากกว่า
รายงานประจำปีของแต่ละบริษัทที่ไม่ต้องเสียเงินซื้อ เป็นแหล่งที่มาของความรู้ที่ทันสมัยที่สุด ดังเช่นที่ Buffett อ่านรายงานของ IBM ทั้ง 50 ปีก็แค่ 50 เล่ม แต่ Bufftet ทำแบบนั้นกับทุกบริษัทประมาณ หลักหลายพันบริษัท

ทำไมไม่มีคนแปลเรื่องพวกนี้ให้อ่านมากนักเพราะนักลงทุนไทยมีจำนวนน้อยมีน้อยกว่า 1% ของประชากร และในจำนวนที่เป็นนักลงทุนจะมีแค่ส่วนน้อยที่จะสนใจเรื่องแบบนี้ เขียนมาก็คงไม่มีคนอ่านและมันจะง่ายกว่าเยอะถ้าทำ โพย ทาย แทง เสีย แบบที่นักวิเคราะห์ตีค่านักลงทุนหุ้นแบบนั้นเสมอมา

If you find a path with no obstacles, it probably doesn't lead anywhere.
Frank A. Clark
ติวเตอร์หุ้นมีผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาการลงทุนที่ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายตามความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน ดูรายละเอียดได้ใน
ผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา

โดยทั่วไป การเล่นหุ้นทางเทคนิค จะเลือกหุ้นได้ยาก ไม่ว่าจะใช้เทคนิคที่ดีแค่ไหนก็ตาม
จะทำได้แค่การเลือกหุ้นจาก Pattern ซึ่งคิดว่าดี ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อถือ ขึ้นกับอารมณ์
ความรู้สึก ความลำเอียง(หรือถูกจ้างมา) ของนักวิเคราะห์
จึงได้สร้างระบบที่ เลือกหุ้นทางเทคนิคขึ้นมา ใช้แค่ราคาเท่านั้นในการคัดเลือกหุ้น
เลือกหุ้นที่โดดเด่อนจากเทคนิค
ดูรายละเอียดได้ใน Secret Stock Trading System for SET

ส่วนการเล่นหุ้นด้วยปัจจัยทางพื้นฐานหรือหุ้นคุณค่า ไม่สามารถที่จะสร้างเป็นสูตรสำเร็จออกมาได้
เพราะเมื่อเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย สิ่งที่เคยมีคุณค่าก็อาจจะไร้ค่าได้อย่างง่ายดาย
เหมือนเรื่อง Kodak, Blackberry, Pager(ถ้าเกิดทัน), ร้านหนังสือ, ร้าน Computer
การประเมินทางพื้นฐานต้องมีความรู้ความเข้าใจในระดับผู้ประกอบการสร้างธุรกิจ จึงจะมองออกว่าธุรกิจแบบไหน ในช่วงเวลาใดจะได้เปรียบ การอ่านจากกระดาษเป็นข้อมูลหลักจะได้สิ่งที่ไม่ครบถ้วน และบิดเบือน ประสบการณ์ในการสร้างธุรกิจจึงจะเข้าใจสถานการณ์จริงที่จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆตามสภาพเศรษฐกิจจริง
แต่ถ้าเป็นทางเทคนิคซึ่งอิงกับสถิติจะมีความน่าจะเป็นอยู่ในระดับนึงที่พอจะใช้งานได้ยาวนานกว่า
ยาวนานในระดับหลายสิบปี ซึ่งกองทุนในต่างประเทศก็ใช้วิธีเช่นนี้ ไม่ว่าจะมีนวัตกรรมอะไรใหม่ๆขึ้นมาตั้งแต่ Smartphone หรือ Drone UAV(ไทยเรายังไม่นิยม แต่ก็คงไม่อีกกี่ปี )

สอนเล่น TFEX หุ้น ด้วย System Trade Click ที่นี่->Click

คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูรายละเอียด ระบบเลือกหุ้นและจังหวะราคา ผู้ใช้มีทักษะใช้ computer เป็นก็เพียงพอ ระบบจะให้คำแนะนำที่สมบูรณ์มาให้

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น