วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เกษียณรวย

"According to him this, not E=mc2 was his greatest discovery, "Compound interest was not only man's greatest invention, but it was also the most powerful force on Earth!"
(The Motley Fool).
สมการ  E=mc2 ไม่ใช่การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ ดอกเบี้ยทบต้นก็ไม่ใช่การค้นพบที่ยิ่งใหญ่แต่เป็นพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกต่างหาก

กด share หน้านี้ใน Line (เปิดจาก smartphone เท่านั้น)

จากคำกล่าวของ the Motley Fool กล่าวถึงสิ่งที่ อัลเบิร์ต ไอสไตน์ พูดไว้เกี่ยวกับ ดอกเบี้ยทบต้นว่าเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
ดอกเบี้ยทบต้นมีลักษณะที่เอากำไรหรือการเติบโตกลับมาลงทุนซ้ำ (Reinvest) ทั้งต้นทั้งดอกจะรวมเข้าด้วยกัน
ตัวอย่างเช่นถ้าฝากเงินได้ดอกเบี้ย 5% เมื่อสิ้นปี จากเงินต้น 100 บาทจะกลายเป็น 105 บาท แล้วนำ 105 บาทฝากเพื่อให้ได้ดอกเบี้ยอีก ทำซ้ำแบบนี้ไปเรื่อยๆ 20 ปี เงินทั้งต้นทั้งดอกจะกลายเป็น 265 บาท ซึ่งมาจาก (1.05) คูณกัน 20 ครั้ง หรือ 1.05 ยกกำลัง 20 จะได้ 2.65 ซึ่งจะมีความแตกต่างอย่างมีนัยยะ กับการไม่ลงทุนซ้ำที่ 20 ปีผ่านไปจะได้เงินต้นรวมดอกเบี้ยที่ 100+5*20=200 บาท ซึ่งต่างจากดอกเบี้ยทบต้นที่ให้เงินต้นรวม 265 บาทอยู่ 65 บาทหรือ 32.5%

ดอกเบี้ยทบต้นถ้าเราเป็นผู้ได้ประโยชน์ จะเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่ถ้าเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เป็นเรื่องที่น่าคิดอย่างมาก ในโลกการค้าปัจจุบัน เงินเฟ้อคือราคาสินค้าที่ขึ้นในขณะที่เรามีเงินเท่าเดิม ก็คือดอกเบี้ยทบต้นในฝั่งราคาสินค้า
ถ้าต้องการให้อำนาจการซื้อมีเท่าเดิม สามารถซื้อสินค้าได้จำนวนเท่าเดิมจำเป็นต้องเพิ่มอำนาจเงินด้วยการลงทุน โดยมีโมเดลที่ว่า ถ้าเราต้องการใช้เงินหลังเกษียณเท่าไหร่ต้องลงทุนให้เท่ากัน เช่นถ้า ปกติใช้เงินต่อเดือน 15000 บาท ก็ต้องแบ่งเงินมาลงทุน 15000 บาท จากการใช้ลักษณะดอกเบี้ยทบต้นพบว่าถ้าไม่มีการลงทุน เงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทบต้นต่อปีจะทำให้เงินที่เก็บออมไว้ใช้หลังเกษียณจะไม่เพียงพอ จำเป็นต้องลงทุนให้ได้ผลตอบแทน >13% ต่อปี ต่อเนื่อง จึงจะรักษาอำนาจการซื้อที่เงินเฟ้อ 3%

ใน 20 ปีที่ผ่านมา เงินเฟ้ออยู่ที่ 5.2% ต่อปี แต่โดยธรรมชาติของประเทศที่ GDP มีแนวโน้มลดลงเงินเฟ้อควรลดลงตามทิศทาง GDP

จากรูป มี 2 chart ที่แสดง เงินเฟ้อ 3% และ 5% โดยจับคู่กับ ผลตอบแทนที่ 13%,20% ซึ่งเป็นระดับที่เพียงพอให้เงินเก็บหลังเกษียณรักษาอำนาจการซื้อได้เช่นเดิม
เป้าหมายเงินเก็บหลังปรับเงินเฟ้อ คำนวณทุก ๆ 10 ปีที่ผ่านไป ซึ่งจะน้อยกว่าการคำนวณเงินเฟ้อทบต้นทุกปี
แต่น้อยกว่าเล็กน้อยไม่มีนัยยะ จึงใช้ข้อมูลปรับเงินเฟ้อทุกๆปีได้
การเก็บออมเงินแต่เพียงอย่างเดียวจะไม่เพียงพอที่จะทำให้มีเงินใช้หลังเกษียณได้ ต้องมีการลงทุนที่ต่อเนื่องยาวนาน การลงทุนที่มีผลตอบแทน >13% จึงจะเพียงพอ

การลงทุนในกองทุนรวมหรือสินทรัพย์อื่นๆจะมีความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ต่างกันดูเพิ่มเติมได้ในบทความ Asset Class , กลยุทธออมหุ้นหรือ DCA ในกองทุนรวมจะให้ผลตอบแทนที่อาจไม่เพียงพอดูเพิ่มเติมได้ในหน้า DCA กองทุนรวม

ติวเตอร์หุ้น


ติวเตอร์หุ้นมีผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาการลงทุนที่ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายตามความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน ดูรายละเอียดได้ใน
ผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา

บทความนี้เป็นชุดต่อเนื่องของ เกษียณรวย สินทรัพย์ทางการเงิน กลุยุทธกองทุนรวม

คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูรายละเอียด
  

1 ความคิดเห็น :