วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Asset Class: สินทรัพย์ในตลาดการเงิน เครื่องมือสร้างความมั่งคั่ง

มีเงินเท่านี้ (xx บาท) จะเอาไปทำอะไรดีให้งอกเงย เป็นปัญหาของคนมีเงินที่ยอดนิยม เงินในระบบทุนนิยมสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบของการสร้างรายได้ผ่านการซื้อสินทรัพย์ที่สามารถเป็นเจ้าของได้ ไม่ว่าการเป็นเจ้าของกิจการ การซื้ออสังหา ให้เช่าหรือขายต่อ หนทางที่ยอดนิยมที่มีสภาพคล่องและสะดวกกว่าการทำธุรกิจหรืออสังหาก็คงหนีไม่พ้น ตลาดการเงินที่ขอให้เป็นวันทำการธนาคารก็ซื้อขายได้สะดวกแล้ว บทความนำเสนอภาพกว้างของตลาดการเงินและแสดงให้เห็นผลตอบแทนที่คาดหวังโดยการกะประมาณ
เวอร์ชั่น Yotube HD
ทางเลือกของผู้ออมเงินที่ในอดีตอาจรู้จักแค่ฝากธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี ก็คงเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง แต่ในปัจจุบันดอกเบี้ยเงินฝากออกทรัพย์ที่ระดับ <1% หรือฝากประจำที่ประมาณ 3% คงไม่เพียงพอที่จะสร้างความมั่งคั่งหรือแค่เก็บออมไม่ให้เงินเฟ้อลดความสามารถลง ก็ทำได้ยาก เงินเฟ้อจะมีระดับ 3-5% ถ้าฝากประจำได้ 3% บางปีเสมอเท่าทุน บางปีจะโดนเงินเฟ้อกัดกิน แม้ธนบัตรยังใหม่แต่ซื้อของได้น้อยลงนั่นเอง
ทางเลือกของการฝากธนาคารจึงไม่ควรเป็นกลยุทธหลักที่จะสร้างความมั่งคั่งหรือแม้กระทั่งรักษากำลังซื้อให้คงเดิมได้ ทางเลือกอืนๆ ซึ่งแน่นอนที่มักจะมีความเสี่ยงที่อาจทำให้เงินต้นลดลงได้ ก็มักจะเป็นที่น่าสนใจ
  • เจ้าของกิจการ: การใช้เงินลงทุนและสร้างกิจการ เป็นงานที่ยากลำบาก ต้องใช้ประสบการณ์และจำนวนเงินทุนที่มากเพียงพอ การแข่งขันและเทคโนโลยีมักเป็นอุปสรรคที่ทำให้ คนมีเงินอาจไม่ต้องการจะทำโดยตรง ความเสี่ยงจากกิจการล้มละลายก็ยังมีอัตราที่สูงในสภาวะที่การแข่งขันสูง แต่ถ้ามี กลยุทธการบริหารที่มีประสิทธิภาพที่ดี การสร้างกิจการสำเร็จ กิจการที่มั่นคงเติบโต จะสร้างความมั่งคั่งได้ดีอย่างน่าประทับใจ
  • อสังหาริมทรัพย์: ซื้อคอนโด บ้านเดี่ยว ตึกแถว ขายต่อหรือปล่อยเช่า แม้เหมือนจะเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำ มีรายได้แน่นอน แต่ทำเลและเงินลงทุนเริ่มต้นที่ต้องใช้สูง ก็มักเป็นทางเลือกนึงของคนมีทุนจำนวนมาก การสร้างความมั่งคั่งด้วยการซื้ออสังหา การเติบโตอย่างมากมักเป็นสิ่งที่คาดหวังได้ยาก เพราะค่าเช่าที่เก็บในอัตราที่ปรับขึ้นได้ยากจะเป็นตัวกำหนดรายได้ การขยายกิจการจะทำได้ยากถ้าไม่มีแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมที่ดี การนำเงินไปซื้ออสังหาจึงมีลักษณะเหมือนการฝากประจำแบบนึง ที่ให้ผลตอบแทนคงที่แต่ไม่เติบโตมากนัก
  • ตลาดการเงิน: ตลาดการเงินของระบบทุนนิยม ซึ่งเป็นตลาดรองที่เจ้าของทรัพย์สินเดิม ที่มีสิทธิ์สามารถนำมาขาย และมีผู้ซื้อเปลี่ยนสิทธิ์ เปลี่ยนความเป็นเจ้าของด้วยราคาที่ตกลงกัน ในปัจจุบันตลาดการเงินทันสมัยไปในระดับที่เป็น อิเล็กทรอนิกส์ โดยที่ผู้ซื้อขายมักไม่รู้จักกันโดยตรง แค่ส่ง transaction ราคาซื้อ(bid) ราคาขาย (offer) เข้าไปในตลาดกลางซึ่งเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตลาดกลางก็ทำการจับคู่ bid-offer ที่ดีที่สุด ก็สิ้นสุดการซื้อขาย เป็นกิจกรรมที่มีความนิยมสูงในประเทศทุนนิยมทั่วโลก การเสนอซื้อ เสนอขายที่ระดับราคาต่างกัน จะมีความสัมพันธ์กับความต้องการ อุปสงค์ demand อุปทาน supply ที่ทำให้ราคาเปลี่ยนแปลง ราคาที่เปลี่ยนแปลงจึงสร้างโอกาส(บางทีก็วิกฤติ)ให้กับผู้ซื้อขายที่ต่างระดับราคาได้
ตลาดการเงินมีหลักการแค่ มีราคาซื้อ bid, ราคาขาย offer ก็จะสร้างเป็นตลาดการเงินได้แล้ว ไม่ว่าทรัพย์สินที่เอามาซื้อขายเป็นอะไร ก็จะสามารถทำในตลาดการเงินได้ทั้งหมด แม้กระทั่งการพยากรณ์อากาศ ที่ผู้ซื้อกับผู้ขายความเห็นต่างกัน ในปัจจุบันตลาดการเงินจะมีชนิดหรือ asset class หลักๆอยู่ 4 แบบ โดยปริมาณเงินรวมในโลกนี้จะเพิ่มขึ้นเสมอเนื่องจากมีการค้าขายที่ขุดเอาทรัพยากรธรรมชาติขึ้นมาใช้ได้ เมื่อขุดทรัพยากรธรรมชาติขึ้นมาก็จะตีราคาผ่านการพิมพ์เงินเพิ่ม ดังนั้นปริมาณเงินในโลกจะเพิ่มขึ้นเสมอ แม้ในบางครั้งปริมาณเงินใน asset class ใดจะมีมากกว่า asset class  อื่นแต่ปริมาณรวมจะเพิ่มขึ้นเสมอ ปริมาณเงินใน asset class ที่ดูน้อย ก็มักจะไหลเวียนไปอยู่กับ asset class อื่น

ปริมาณเงินที่ไหลเวียนจาก asset class นึงไปสู่ asset class นึงจะสร้างโอกาสให้ราคาซื้อขายเปลี่ยนแปลงได้จึงเหมือนการที่จะซื้อถูกขายแพงทำได้ในระยะสั้น ในภาพกว้าง ปริมาณเงินที่อยู่ใน asset class ใดๆมากจะหมายถึง asset class นั้นมีมูลค่าเชิงเปรียบเทียบกับ asset class อื่นมากขึ้น แต่ก็ไม่ตลอดไป มักจะมีการไหลเวียนเปลี่ยนชนิดกันอยู่เสมอ
หลักคิดนี้จะสามารถนำไปสร้างกลยุทธ asset rotation ได้ asset ใดนิยมก็ต้องตามไปนิยมด้วย ไม่เช่นนั้นจะได้ผลตอบแทนต่ำ ปริมาณเงินจากการย้าย asset จะมีปริมาณมากจนทำให้ราคา asset พุ่งทะยานได้อย่างน่าประทับใจได้ asset rotation จึงเป็นกลยุทธที่น่าสนใจอย่างมาก แต่ก็เหมือนทุกๆสินทรัพย์ที่มีจุดเริ่มก็มีจุดจบ ถ้าความนิยมสิ้นสุดลงก็จะเหมือนยุคหลังตื่นทอง ที่ถ้าใครคุยเรื่องทอง ประเมินได้เลยว่าไม่เจ๊งหนักก็เจ๊งน้อย เพราะทองมีแต่ซึมลงหลังจากหมดความนิยมใน asset นั้นๆ

ตลาดการเงินจะมี asset class 4 แบบแบ่งตามชนิดของสินทรัพย์ที่อ้างอิงได้ ดังนี้
  1. Bond: หรือ Fix income จะอ้างอิงกับสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงต่ำมากบางทีเรียกว่า Risk free asset คือไม่มีความเสี่ยงที่เงินต้นจะหายไป สินทรัพย์จะเป็นประเภทเงินฝาก ตั๋วแลกเงิน พันธบัตร ตราสารหนี้ ในประเทศไทย Bond หรือ Fix income ที่สะดวกต่อประชาชนทั่วไปจะมี A. เงินฝาก ออมทรัพย์ ประจำ แบบพิเศษ สลากออมสิน B. กองทุนตราสารหนี้ พันธบัตร C. หุ้นกู้ ทั้งสามแบบจะให้ผลตอบแทนกลับมาเป็นอัตราดอกเบี้ยโดยที่เงินต้นจะคงสภาพอยู่ไม่ลดลง ชื่อ Risk free ก็สะท้อนความหมายที่เงินต้นไม่มีความเสี่ยงนั่นเอง A. จะติดต่อได้ที่ธนาคารทั่วๆไป B. จำเป็นจะต้องใช้บริการกองทุนรวมซึ่งธนาคารใหญ่ๆก็มักจะมีบริการกองทุนรวมเช่นกัน C. ต้องจองซื้อผ่านทางธนาคารเมื่อมีการเปิดให้ซื้อซึ่งมักจะเป็นบางช่วงเวลา หุ้นกู้แม้ชื่อจะเรียกว่าหุ้นแต่ลักษณะจะเป็นการให้ดอกเบี้ยในระยะยาว เหมือนการฝากประจำระยะยาว ไม่ใช่การซื้อขายหุ้นเหมือนในตลาด SET เมื่อครบเวลาจะให้ดอกเบี้ยและเงินต้นคืนกลับมา
  2. Stock: ตลาดทุนหรือตลาดหุ้น เป็นตลาดรองที่มีการซื้อขายสิทธิ์ความเป็นเจ้าของของบ.หรือกิจการนั้นๆ หุ้นจะให้ผลตอบแทน=ผลต่างราคาซื้อขาย+ปันผล , ปันผลจะมีลักษณะเหมือนดอกเบี้ยโดยนำกำไรจากการทำกิจการมาแบ่งส่วนนึงปันผลให้เจ้าของผู้ถือหุ้น อีกส่วนจะเก็บไว้ขยายกิจการต่อ ส่วนที่ขยายกิจการมักจะทำโดยการซื้อทรัพย์สินที่สร้างรายได้เพิ่ม จึงเป็นที่มาของผลต่างราคาซื้อขาย ราคาซื้อขายจะสะท้อนกำไรที่บริษัททำได้ ถ้ากำไรเพิ่มขึ้น 50% ราคาหุ้นก็มักจะเป็นเงาสะท้อนที่เพิ่มขึ้น 50% ได้(ในบางกรณีจะเพิ่มได้แบบ 1:1 แต่ในบางกรณีก็ไม่ใช่) โดยทิศทางราคา จะไปในทิศเดียวกับ กำไร ถ้าเพิ่มก็เพิ่มตามถ้ากำไรลดก็ลดตาม กำไรนอกจากมีผลต่อราคาแล้วก็มีผลต่อ ปันผลด้วย เนื่องจากกำไรเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนเพิ่มหรือลดได้ ผลต่างราคาซื้อขายอาจทำให้เงินต้นติดลบได้ เงินต้นจะอยู่ไม่ครบ หรือในกรณีที่กำไรเพิ่มขึ้นเยอะ ราคาก็จะเพิ่มขึ้นเยอะ เยอะขนาดที่เป็น 10 เท่าของ ปันผลก็ทำได้เป็นปกติ การซื้อถือครองหุ้นจะมีความเสี่ยงเรื่องผลต่างราคาซื้อขายเป็นสัดส่วนที่มาก ต้องใช้ความรู้ความชำนาญเพื่อป้องกันหรือใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ การซื้อขายหุ้นจะสามารถทำได้โดยการเปิดบัญชีกับ Broker เพื่อให้ได้บัญชีซื้อขายผ่านตลาด SET ปัจจุบัน บัญชีซื้อขายออนไลน์จะเป็นที่นิยมเพราะสามารถซื้อขายด้วยตนเองผ่านอินเทอร์เน็ตที่ทำที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ ต่างจากอดีตที่ต้องใช้โทรศัพท์โทรสั่งซื้อขายผ่าน Broker
  3. Commodity:สินค้าโภคภัณฑ์หรือสินค้าที่ไม่มียี่ห้อ มักเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าแปรรูปอื่นๆเช่น ยางพารา ข้าวโพด ข้าว มันสัมปะหลัง ทองแดง ทองคำ ราคาที่ขึ้นลงมักจะเกี่ยวพันกับเศรษฐกิจโลกโดยตรง เศรษฐกิจที่ขยายหรือหดตัวจะส่งผลต่อ demand supply ที่จะส่งผลต่อราคาซื้อขาย โดยราคาซื้อขายของแต่ละชนิดจะมีตลาดกลางของโลกไว้อ้างอิง ลักษณะราคาของ commodity จะมีลักษณะเป็น trend ที่ดีในช่วงสั้นๆ แต่เวลาส่วนมากจะ sideway เพราะความต้องการวัตถุดิบใดวัตถุดิบนึงจะมีความนิยมเป็นช่วงสั้นๆตามสภาวะที่ขาดแคลนบางอย่าง ราคาจะไม่เพิ่มขึ้นสม่ำเสมอเหมือนกำไรของบ. ที่ดีทำได้ เมื่อหมดวัฏจักรลง demand ลดลง ราคาก็มักจะลดลงไปสู่จุดสมดุล ราคาอาจอยู่ที่จุดสมดุลได้ยาวนานหลายสิบปี ในหลายๆ commodity ผลตอบแทนจะมีเฉพาะในรูปแบบ ผลต่างราคาซื้อขาย ไม่มีปันผลเพราะสินค้าไม่ได้มีเจ้าของกิจการจริงๆ การสร้างระบบที่ดีจะสามารถลดปัญหาขาลงของ commodityได้ จะเป็นในลักษณะของกราฟเทคนิคที่ให้สัญญาณซื้อขาย การซื้อขาย commodity ของไทยจะมี ยางพารา ตลาด AFET , ทองคำ future ตลาด TFEX, กองทุนรวมทองคำผ่านกองทุนรวม, ทองคำแท่งผ่าน broker ทองคำ ซึ่งก็มี TFEX ด้วย
  4. Currency:เงินตราต่างประเทศ เมื่อมีการส่งออกนำเข้า อัตราแลกเปลี่ยน จะมีบทบาทสำคัญ ที่ราคาซื้อขายสินค้าจะมีการตกลงอัตราแลกเปลี่ยนในการกำหนดราคา เมื่อการส่งออกหรือนำเข้าอยู่ในภาวะเปลี่ยนแปลงจะเพิ่มหรือลด จะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากปัจจัยการนำเข้าส่งออก การลงทุนทางตรงทางอ้อมของต่างชาติก็มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนในการย้ายเงินจากสกุลเงินนึงเปลี่ยนไปสกุลเงินอื่น การเปลี่ยนแปลงราคาจะทำให้เกิดผลตอบแทน การลงทุนจะสามารถทำผ่าน ธนาคาร เป็นบริการประกันค่าเงิน, USD future(BAHT/US) ตลาด TFEX , forex ผ่าน broker ต่างประเทศซึ่งเป็นแบบผิดกฏหมาย ธปท. ไม่รับรอง ไม่อนุญาตแต่ก็มีความพยายามที่จะซื้อขาย ธปท. ไม่อนุญาตให้ซื้อขายค่าเงินแบบเสรี อนุญาตให้เฉพาะการซื้อขายที่มีสินค้าอ้างอิง
Mutual Fund: หุ้นมีความซับซ้อนในการคัดเลือกและการประเมิน จังหวะ ราคาซื้อขาย กองทุนรวมหรือ Mutual fund จึงทำหน้าที่นี้แทน mutual find จะนำเงินจากประชาชนที่นำมารวมกันมาสร้างเป็น portfolio ที่ประกอบไปด้วยหุ้นจำนวนมาก การทำเช่นนี้จะสร้างลักษณะผลตอบแทนออกมาใกล้เคียงกันการซื้อหุ้นทั้งตลาดที่บุคคลทั่วๆไปทำไม่ได้ ผลที่ออกมาจะเป็นการลดขนาดขาดทุนและกำไรที่จะเกิดขึ้นได้ การซื้อกองทุนรวมที่มีการลดภาษีจะเป็นที่นิยมในไทย(มีไม่กี่ประเทศที่มีแบบนี้) กลยุทธที่ดึงดูดที่สุดจะเป็นการชูประเด็นเรื่องปันผลซึ่งเลียนแบบการปันผลของหุ้นที่ซื้อ โดยเอาหักเอากำไรมาปันผล แต่ในความจริงคือการหักทรัพย์สินมาคืนผู้ถือหน่วยลงทุน ไม่ใช่การทำธุรกิจจริงที่มีกำไร แล้วเอากำไรจากธุรกิจมาปันผล ถ้าจะจัด asset class ให้ mutual fund จะเป็นประเภท stock ตามสินทรัพย์ที่กองทุนถือ(บางกองไม่ถือหุ้นก็ไม่จัดในประเภทนี้) โดยที่ผลตอบแทนทั้งกำไรและขนาดทุนจะลดขนาดลงจากการเลือกหุ้นเฉพาะตัวที่ดี การลดกำไรลงเกิดจากการรวมหุ้นไม่ดีเข้าไว้ในกองทุนหรือ หุ้นที่คิดว่าดีแต่ดีไม่จริง การลดขนาดขาดทุนทำได้เพราะรวมเอาหุ้นที่ดีไว้ค้ำยันผลตอบแทน แต่ถ้าเรามีความชำนาญเลือกบ.ดี ไม่ว่าอย่างไรก็จะมีผลตอบแทนที่มากกว่ากองทุนเสมอ ดังตัวอย่าง performance ของหุ้นกลุ่มนำ

กองทุนอสังหาริมทรัพย์/กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน: เจ้าของสินทรัพย์เดิมต้องการใช้เงินทุนจำนวนมากในการขยายกิจการแต่เนื่องจากสินทรัพย์นั้นสร้างรายได้ไม่เร็วได้พอ จึงเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นรายได้แล้วแบ่งขายสิทธิ์ความเป็นเจ้าของแก่ประชาชน ผลตอบแทนที่ได้จะเป็นลักษณะปันผลที่สม่ำเสมอ ใกล้เคียงกันกับผลตอบแทนอสังหาริมทรัพย์ประมาณ 6-8% แต่มีความเสี่ยงเรื่องราคาซื้อขายที่มีแรงซื้อขาย ที่ไม่สมดุลทำให้ราคาซื้อขายเปลี่ยนแปลงได้ ผลกระทบของราคาซื้อขายไม่รุนแรงเหมือนราคาหุ้นเพราะรายได้ของกองทุนจะมาจากค่าเช่า ค่าเช่าปกติจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ แต่รายได้รวมกองทุนจะลดลงได้ถ้าผู้เช่าที่ทำธุรกิจบนสินทรัพย์นั้นไม่สามารถจ่ายค่าเช่าได้ เหตุการณ์ที่ผู้เช่าไม่จ่ายค่าเช่า มักจะเกิดในวิกฤติเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ความเสี่ยงของราคาของกองทุนจึงอยู่ในระดับต่ำกว่าราคาหุ้นแต่ก็อยู่สูงกว่า Fix income การซื้อกองทุนจะสามารถซื้อได้ในตลาดหลักทรัพย์ SET หรือซื้อครั่งแรกผ่านธนาคาร

Derivative: เป็นสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ซื้อ ขาย อ้างอิงกับสินค้าจริง เช่น ราคาหุ้น ราคาทองคำ , ราคายางพารา, set50 index โดยมีการลดจำนวนเงินลงทุนเบื้องต้นจาก 100% เป็นแค่ Initial Margin ประมาณ 10% ของมูลค่าสินทรัพย์จริง การทำเช่นนี้ทางบัญชีจะเสมือนการขยายขนาดขาดทุนและกำไร จากปกติถ้าขาดทุนหรือกำไร 10% ให้กลายเป็น 100% ได้ การบริหารเงินไม่เหมาะสมเช่นการ วางเงินประกันน้อย อาจทำให้ขนาดขาดทุนแค่ 1 ครั้งอาจทำให้ port ถูกทำลายให้ออกนอกตลาดเพราะหมดเงินทุนได้ , derivative จะมีอยู่ใน ทุก asset class ในไทย  ในไทยจะมี interest rate ซึ่งอ้างอิงกับ Bond  , stock และ index ที่ทำมาจาก stock, gold, oil, currency ที่ซื้อขายในตลาด TFEX ถ้าจะจัด asset class จำเป็นต้องจัดเป็น asset class ความเสี่ยงสูง แทนที่จะอิงตามสินทรัพย์เพราะการซื้อขาย derivative โดยส่วนมากจะเป็นแค่การตกลง ราคาล่วงหน้า เมื่อถึงกำหนดเวลาก็หักลบส่วนต่างราคา ไม่มีการส่งมอบสินค้าจริง(ยกเว้น AFET ที่ไปตกลงกันข้างนอกหลังจากซื้อขายใน AFET รัฐบาลก็เริ่มใช้วิธีนี้ขายข้าว)

คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูรายละเอียด


ผลตอบแทนของ asset class ทั้ง 4 จะมีสองรูปแบบ 1.ผลต่างราคาซื้อกับราคาขาย 2. ปันผลหรือดอกเบี้ย ผลต่างราคาจะมีขนาดที่ทำให้กำไรขาดทุนมีขนาดใหญ่กว่า ปันผลหรือดอกเบี้ยได้หลายสิบเท่า เช่น ปันผลของหุ้นให้ ประมาณ 5-8% แต่ราคาของหุ้นตัวเดียวกันกับให้ผลต่างราคาซื้อขายได้ -50% ถึง 100% ในช่วงเวลา 1 ปี การมุ่งจะซื้อสินทรัพย์ที่ให้ปันผลแต่ไม่ได้ดูที่ ผลต่างราคาอาจสร้างความเสียหายแบบนึกไม่ถึงได้ เช่น ได้ปันผล 5% แต่เงินต้น ลด -30% เป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า
asset class 3 แบบหลังจะมีผลตอบแทบ ผลต่างราคา แต่มีบางแบบที่ให้ปันผลหรือดอกเบี้ยด้วย ความเสี่ยงที่เงินต้นจะลดลงจะมีใน asset class ที่มีผลต่างราคาเสมอ ซึ่งก็คือ 3 แบบหลัง มีแค่ 1.Bond หรือ fix income ที่เรียกว่า risk free rate ที่ไม่มีความเสี่ยงเรื่องนี้(ในทางทฤษฎีมี แต่ถ้าเกิดจริงระบบเศรษฐกิจใหญ่จะพังทลายก่อนที่จะเห็น risk free rate มีความเสี่ยงสูงขึ้นมาได้ เหมือนเศรษฐกิจกรีซ)

การเลือก asset class ใดๆ ควรคำนึงถึง ผลตอบแทน ความเสี่ยง(เงินต้นที่อาจลดลงได้ อย่าให้เจ๊งจนแก้กลับไม่ได้ก็จะ OK) เป้าหมายการลงทุน(สำคัญที่สุดในการทำกิจกรรมใดๆ) ตัวอย่างเป้าหมายการลงทุน เกษียณรวย บทความได้นำเสนอ ตารางผลตอบแทนในระยะยาว 15 ปีที่ผลตอบแทนและความเสี่ยงต่างๆกัน การกะประมาณผลตอบแทน ความเสี่ยงเป็นแต่เพียงการกะประมาณจากข้อมูลในอดีตเพื่อดูขนาด แต่ก็ไม่ได้บอกอะไรกับอนาคตของสินทรัพย์เหล่านั้น ได้แต่เพียงสันนิษฐานว่าสินทรัพย์นั้นๆจะคงสภาพเดิมได้ต่อไป
การเลือกผลตอบแทนสูงๆมักจะดีเสมอในรูปผลตอบแทนทบต้น ดูที่ผลตอบแทนรวมได้ ผลตอบแทนรวมโตต่างกันหลายเท่าแค่เปลี่ยนผลตอบแทนทบต้นเล็กน้อย แต่ถ้ามองในความเสี่ยง อันตรายที่เกิดจากความไม่ชำนาญมักจะร้ายแรง อาจดูในรูปของจำนวนเงินที่ลดลง(เงินที่เสียไป)และการเสียโอกาส(เงินที่ควรจะได้ opportunity cost)

ใน modern portfolio , มักจะสร้าง model คณิตศาสตร์เพื่อสร้างส่วนผสมการลงทุนจาก ความเสี่ยง(โอกาสและขนาดเงินต้นจะลดลง) เป็นแบบกระจายความเสี่ยง(Diversification) เพื่อจุดประสงค์ป้องกันถ้า asset class ใดอยู่ในสภาพย่ำแย่ จะได้ไม่ทำลาย portfolio ทั้งหมด ยังมี asset class อื่นๆคอยค้ำจุนผลตอบแทนรวมอยู่ แต่การทำเช่นนี้จะมีจุดอ่อนที่ผลตอบแทนจะลดลง แผนตั้งรับจะดีก็เมื่อถูกโจมตี แต่ถ้าจะโจมตีต้องใช้แผนโจมตีจะดีที่สุด
แต่ในหลักคิดของมหาเศรษฐีระดับโลกจะไม่สร้าง model จากการกระจายความเสี่ยง แต่จะใช้ asset class ที่ตนเองชำนาญมากที่สุดเป็นเครื่องมือสร้างฐานะ เป็นแบบรวมศูนย์(focus) ด้วยความรู้ความชำนาญเจาะลึก(circle of competence) ในธรรมชาติของ asset class จุดแข็งจุดอ่อน จะสามารถส่งเสริมให้ความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นแบบทบต้นอย่างมหาศาลได้ แต่จุดอ่อนวิธีนี้ จะสร้างผลร้ายแรง ถ้าสิ่งที่ทำไม่มีความชำนาญแบบเจาะลึก หลายครั้งที่มีการสร้าง model คณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนแต่ก็ไม่สามารถทดแทนความสามารถของมนุษย์ที่แยกแยะ จุดแข็งจุดอ่อนได้ ผ่านการฝึกฝน, model เขียนตามเงื่อนไขจำกัดที่ระบุได้ แต่เมื่อใช้งานไม่ได้ model ก็จะไม่บอกว่าตัวเองใช้งานไม่ได้แล้ว มีแต่ให้ผลลัพธ์เดิมๆต่อไป subprime ก็เกิดมาจาก model ลักษณะนี้

ทั้งหลักคิด การกระจายความเสี่ยงและการรวมศูนย์ ก็เป็นแนวความคิดที่สามารถสร้างความมั่งคั่งได้เสมอ แต่อาจสร้างได้ในระดับที่ต่างกันในกรณีที่สำเร็จและล้มเหลว

Though the mathematical calculations required to evaluate equities are not difficult, an analyst - even one who is experienced and intelligent - can easily go wrong in estimating future "coupons."
Buffett-1992

ติวเตอร์หุ้นมีผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาการลงทุนที่ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายตามความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน ดูรายละเอียดได้ใน
ผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา

บทความนี้เป็นชุดต่อเนื่องของ เกษียณรวย สินทรัพย์ทางการเงิน กลุยุทธกองทุนรวม

สอนเล่น TFEX หุ้น ด้วย System Trade Click ที่นี่->Click

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น