บทความเป็นบทความระดับยาก เป็นตราสารอนุพันธ์ที่ซับซ้อนระดับสูง ไม่เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่
Derivative warrant เป็นตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับตราสารทุนซึ่งก็คือหุ้น ตราสารอนุพันธ์จะเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย โดยอิงกับราคาของสินค้าอ้างอิง ตราสารอนุพันธ์จะมีลักษณะที่เป็นสัญญาที่สามารถสร้างให้มีมูลค่ามากกว่ามูลค่าสินค้าอ้างอิงได้ เนื่องจาก การวางเงินประกันในการทำสัญญาสามารถวางประกันแค่ 10 % ของมูลค่าจริง ถ้าปริมาณเงินที่ซื้อขายเท่ากับปริมาณเงินที่ซื้อสินค้าอ้างอิง ก็หมายถึงมูลค่าอนุพันธ์มากกว่าสิบเท่าของมูลค่าสินค้าอ้างอิงได้
ในตลาดหลักทรัพย์จะอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ออกตราสาร DW เป็นผู้ขาย เป็น Market Maker และมีกฏให้ซื้อสินทรัพย์อ้างอิงที่เป็นหุ้นไว้เท่ากับมูลค่า DW ที่จัดจำหน่าย เหตุการณ์ที่ DW จะมีมูลค่ามากกว่ามูลค่าหุ้นจึงไม่เกิดขึ้น
ผู้ขาย DW ในมุมมองของ ตลาดอนุพันธ์คือผู้ Short contract ไม่ว่าจะเป็น Short put หรือ Short call
Short Put ถ้าสินค้าอ้างอิงราคาเพิ่มขึ้น ผู้ Short จะได้กำไร ได้กำไรเป็นค่า premium ค่าที่ขาย DW ไป ฝั่งผู้ซื้อซึ่งคือรายย่อย ที่ซื้อ put หรือ long put จะเป็นฝ่ายขาดทุน ตรงกันข้ามกัน
Short Call ที่ราคาสินค้าอ้างอิงลดลง Broker จะได้กำไร รายย่อยที่ซื้อ call จะขาดทุน
Call คือ สิทธิ์ในการซื้อสินทรัพย์ มูลค่า Call C จะเพิ่มขึ้นถ้าสินทรัพย์อ้างอิงราคาเพิ่มขึ้น
Put คือ สิทธิ์ในการขายสินทรัพย์ มูลค่า Put P จะเพิ่มขึ้นถ้าสินทรัพย์อ้างอิงราคาลดลง
การสังเกตจะพบว่า ราคาสินทรัพย์อ้างอิงเพิ่มขึ้น C ราคาจะเพิ่มตาม, P ราคาจะลดสวนทางราคาตัวแม่
จะสังเกตว่าไม่ว่าราคาขึ้นหรือลง จะมีฝั่งผู้ขายหรือผู้ซื้อที่เป็นฝั่งได้กำไร เสมอ ไม่ขาดทุนหรือกำไรไปพร้อมกัน จะมีฝั่งนึงเสียเปรียบอีกฝั่งเป็นการถือสถานะตรงกันข้ามกัน ต่างจากหุ้นที่ถ้าหุ้นขึ้น ทุกคนจะกำไรหมด ถ้าถือหุ้นตัวนั้นมา ถ้าหุ้นลงจะกำไรลดหรือขาดทุนได้พร้อมๆกัน
Warrant โดยปกติจะเป็นตราสารที่แปลงเป็นหุ้นที่อ้างอิงได้เมื่อครบอายุตามที่กำหนดไว้ โดยจะกำหนดเป็นอัตราส่วนหุ้นลูกต่อหุ้นแม่ไว้ เช่น 3 หุ้นลูกแปลงเป็น 1 หุ้นแม่ เนื่องจากมีอัตราส่วนเช่นนี้การเคลื่อนไหวของหุ้นแม่แค่ 1% อาจทำให้ warrant หุ้นลูกเปลี่ยนแปลงได้ถึง 4% มีอัตราเร่งที่เพิ่มขึ้นมาก warrant จึงนิยมนำมาเก็งกำไรกันอย่างมากถ้า หุ้นแม่ได้รับความสนใจ ราคาเปลี่ยนแปลงการเล่นหุ้นลูก warrant จะเพิ่มอำนาจกำไรหรือขาดทุนได้มาก
warrant ผู้ที่ออกตราสารจะเป็นบริษัทแม่ที่ต้องการเพิ่มทุนโดยออกเป็น warrant โดยสิทธิ์ที่เทียบกับกับหุ้นแม่ต้องรอจนถึงการแปลงกลับไปเป็นหุ้นแม่ ลักษณะเหมือนการกู้ยืมผู้ลงทุนเดิมและจ่ายผลตอบแทนเป็นหุ้น
เนื่องจากมีระยะเวลานานกว่าจะแปลงเป็นหุ้นแม่ ในระยะเวลาระหว่างนั้นผู้เล่น warrant มักจะนิยมนำมาเก็งกำไร แต่มีข้อเสียที่หุ้นแม่ถ้าเป็นหุ้นที่ไม่มีประเด็น มีความเคลื่อนไหวมาก การเก็งกำไร warrant ก็มักจะไม่ได้รับความสนใจ volume เงียบเหงาได้
Derivative warrant จะเป็นตราสารที่สามารถแปลงกลับไปเป็นมูลค่าเสมือนหุ้นแม่ได้ ที่ใช้คำว่าเสมือนเพราะมักจะหักลบกำไรส่วนต่างเมื่อหมดอายุ ไม่ได้มีการโอนหุ้นกันๆจริง
โดยผู้ออก DW จะเป็น broker ที่ต้องซื้อหุ้นแม่ไว้ในมูลค่าที่เท่ากับที่ขาย DW ให้กับรายย่อย เพื่อเป็นสินค้าอ้างอิงในการคิดหักลบกำไรส่วนต่าง การขาย DW จะมีมูลค่าจำกัดเท่ากับมูลค่าหุ้นแม่ ณ วันที่ทำการออกขาย ที่ทำเช่นนี้เพราะต้องการให้ broker มีหลักทรัพย์จริงที่ใช้อ้างอิงได้ ไม่ใช่สร้าง DW ขึ้นมาจากความว่างเปล่า ซึ่งถ้าเป็น options ปกติ จะสามารถทำเช่นนั้นได้ คือขาย options โดยที่ไม่ต้องถือครองสินค้าอ้างอิง อาจจะเป็นสาเหตุนึงที่ความนิยม volume ใน options มีปริมาณ ความนิยมน้อย ที่ไม่มีผู็ขาย options รายใหญ่นั่นเอง
ข้อพิจารณาของ Derivative Warrant
ในสัญญาของ Derivative Warrant ที่ออกขายโดย broker จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับ หุ้นอ้างอิง ราคาที่ใช้อ้างอิง ทิศของสัญญา อัตราส่วนการแปลง วันหมดอายุ โดยเราจะสังเกตุ หุ้นอ้างอิง ทิศของสัญญา Type C,P เดือนที่หมดอายุ ได้จากชื่อของ DW เช่น AOT01C1405A , AOT เป็นหุ้นอ้างอิง, 01 broker id, C call ถ้าสินค้าอ้างอิงราคาขึ้น มูลค่า DW จะเพิ่มขึ้น ตรงข้ามกับ P put , 1405 expired date พค. 2014, A series idส่วนในรายละเอียดอื่นๆ ต้องดู ใน สัญญา ของ broker ที่ออก DW AOT01C1405A
- Strike 170, คือราคาสิทธิ์ที่สามารถแปลงเป็นหุ้นแม่แล้วอาจได้กำไร เป็น intrinsic value หรือมูลค่าจริง ที่ใช้คำว่าอาจเพราะถ้า AOT อยู่ต่ำกว่า 170 DW นี้จะไม่สามารถแปลงใช้สิทธิ์ได้ intrinsic value=0 แต่ถ้า >170 DW นี้จะสามารถแปลงได้ ส่วนจะกำไรหรือไม่ เกี่ยวข้องกับราคาที่ซื้อ DW มา อันตรายร้ายแรงถ้าถือ DW นี้มาจนหมดอายุแล้ว AOT<170 DW นี้ก็คือเศษกระดาษธรรมดามีค่าเท่ากับ 0 บาท ได้ การคิดจะซื้อแล้วถือ DW ลงทุนจึงเป็นเรื่องอันตรายที่เงินต้นจะหายไปทั้งหมดได้
- Ratio 38:1, 38 DW แปลงเป็น 1 หุ้นแม่ ใช้คำนวณมูลค่าแต่โดยปกติจะใช้เครื่องมือของ broker คำนวณให้ว่าจริงๆแล้วมีมูลค่าจริงเท่าใด ไม่ต้องคำนวณเอง
- Expire date 2014-06-05: วันหมดอายุ DW ที่ต้องแปลงในกรณีที่แปลงได้ หรือ =0 ในกรณีที่ราคาหุ้นแม่ไม่ถึง strike
นอกจากนั้นยังมีค่าคำนวณที่ broker ใช้ค่าต่างๆมาคำนวณราคาที่เหมาะสมต่างๆ ซึ่งค่าเหล่านี้จะไม่ได้ระบุใน contract แต่ใช้ราคา อัตราทด ค่าความแกว่ง delta volatility ซึ่งค่าเหล่านี้เราไม่จำเป็นต้องคำนวณเองแต่ต้องทำความเข้าใจในการประเมินมูลค่า
- Premium 17%, ราคาปัจจุบันแพงกว่ามูลค่าจริงรวม(intrinsic+time) 17% เป็นเรื่องประหลาดที่มีการเก็งกำไรของที่แพงกว่ามูลค่าจริงถึง 17% สภาวะนี้จะเป็นอยู่ได้ยาวนานบางทีก็เพิ่มมากขึ้นไปถึง 30% แพงกว่ามูลค่าจริงได้
- Intrinsic Value 0.03, มูลค่าจริงถ้าแปลงไปเป็น AOT ด้วย Ratio ที่ระบุ
- Time Value 0.77, มูลค่าจากเวลา เป็นมูลค่าที่มีความหมายว่า AOT อาจขึ้นไปได้มากกว่าราคาปัจจุบัน เป็นค่าความคาดหวังที่ตลาด ผู้เล่นคาดหวัง แต่เทคนิคการคิดจริงๆ คือ นำ intrinsic value มาหักออกจาก ราคาปัจจุบัน time value นี้เนื่องจากเป็นค่าความหวังดังนั้นเมื่อเวลาเข้าใกล้ expire date time value จะลดค่าลงได้ทุกวันปรากฏการณ์นี้จะเรียกว่า time decay เสื่อมจากเวลา และที่น่าตกใจอย่างมากจะพบว่า DW มีค่าจริงแค่ 0.03 แต่มี ค่าคาดหวัง 0.77 ค่าคาดหวังมากกว่ามูลค่าจริงเกือบ 40 เท่า
- Gearing 3.33, ในกรณี AOT>170 ITM in the money สามารถแปลง DW เป็นหุ้นแม่ได้ (ในทางปฏิบัติจะไม่มีการแปลง แต่หักลบกำไรจ่ายส่วนต่าง) ถ้า AOT ขยับ 1% DW นี้จะขยับ 3.33%
- จุดคุ้มทุน break even 201 : ถ้า AOT ณ วันหมดอาย DW เกินราคานี้ 201 DW นี้จะคุ้มค่าต่อการแปลงสินทรัพย์ สังเกตว่า strike ที่ 175 แต่จุดคุ้มทุนจริงๆ อยู่ห่างถึง 201 ที่เป็นเช่นนี้เพราะ time value ที่สร้างราคาส่วนเกินขึ้นมา
ข้อน่าสังเกตและระมัดระวังอย่างมากคือ จะเห็นว่า Time value คือค่าคาดหวังมีมูลค่าในราคาที่ซื้อขายเป็นสัดส่วนมาก เกือบทั้งหมดของมูลค่า เหมือนซื้อขาย DW บนความคาดหวังล้วน ๆ มูลค่าจริงเป็นแค่ 4% ในราคาซื้อขายจริง การซื้อแล้วถือครองถ้าราคาหุ้นแม่ไม่ขยับไปไหน และเกิด time decay ต่อเนื่อง 96% ของที่ซื้อมาจะเสื่อมราคา หายไปเป็น 0 เหลือมูลค่าจริงแค่ 4% ในสิ่งที่ซื้อมา เป็นเรื่องที่น่ากลัวอย่างยิ่งถ้าขาดทุน -96%
นอกจากนั้น ถ้า intrinsic =0 ราคาสินทรัพย์อ้างอิงมาไม่ถึงระดับ strike DW ที่ถือจะมีมูลค่าเป็น 0 ณ วันที่หมดอายุ การขาดทุนที่มูลค่าเป็น 0 ก็คือหมดตัวถ้าซื้อ DW ทั้ง port ในตัวที่ intrinsic =0 ในวัน expired
นอกจากนั้น ถ้า intrinsic =0 ราคาสินทรัพย์อ้างอิงมาไม่ถึงระดับ strike DW ที่ถือจะมีมูลค่าเป็น 0 ณ วันที่หมดอายุ การขาดทุนที่มูลค่าเป็น 0 ก็คือหมดตัวถ้าซื้อ DW ทั้ง port ในตัวที่ intrinsic =0 ในวัน expired
Gearing จะสร้างอำนาจการทำกำไรขาดทุนให้มีปริมาณที่สูงขึ้นจาก ตารางคำนวณ volatility
ถ้าราคา AOT เปลี่ยนจาก 172 เป็น 174.5 +1.45%
ราคา DW จะเปลี่ยนจาก 0.79 เป็น 0.82 +3.79%
จะเห็นว่าความการเปลี่ยนแปลงของ DW มีความน่าจูงใจให้เก็งกำไรอย่างมาก ด้วย % การเปลี่ยนแปลงที่มาก และหุ้นแม่ที่มีประเด็นความนิยม มีการเคลื่อนไหวต่อเนื่องโดยหุ้นแม่มักเป็นหุ้นที่เป็นกิจการมั่นคงใหญ่โต แต่เนื่องจากมีการเติบโตน้อยราคาที่เปลี่ยนแปลงถ้าคิดเป็น % ก็จะน้อย DW จึงเป็นหนทางในการเก็งกำไรที่น่าสนใจอย่างมาก
กลยุทธสำหรับ Derivative Warrant
การลงทุนหรือซื้อขายให้ได้กำไรใน DW สามารถมีทางเลือกให้หลายแบบในทางทฤษฎี(แต่ในทางปฏิบัติมีน้อยเท่าเดิม) เช่น การเก็งกำไรทิศทาง direction, การประกัน hedging, combined option strategy
การเก็งกำไร
การเก็งกำไรหรือการซื้อถูกขายแพงมักจะมีความนิยมเสมอในทุกๆการลงทุน การซื้อมาแล้วขายไปให้แพงกว่าที่ซื้อเป็นกลยุทธพื้นฐานที่ไม่แม้แต่การลงทุนเท่านั้น การทำธุรกิจ การพนันแบบถูกกฏหมายในต่างประเทศ การพนันแบบผิดกฏหมาย ล้วนแต่ใช้กลยุทธแบบนี้ได้ทั้งสิ้น การประเมิน การเดา หรือการตั้งใจสร้างกลยุทธ ในการตัดสินใจซื้อขาย DW ก็จะเป็นสินทรัพ์ที่น่าสนใจ การวิเคราะห์ราคาจะวิเคราะห์ทิศทางราคาของหุ้นแม่แล้วเลือกทำการซื้อขาย DW ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงมากเมื่อเทียบกับตัวแม่
ถ้าคาดการณ์ว่าหุ้นแม่จะมีทิศทางขึ้น การเลือกซื้อ Call C (ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของชื่อ DW) ก็จะสามารถทำกำไรอย่างดี ซื้อราคานี้เพื่อไปขายราคาที่แพงกว่า
การซื้อ Put P ก็จะเหมาะถ้าคาดการณ์ว่าราคาหุ้นแม่มีทิศทางลง
คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูรายละเอียด
การประเมินราคาที่เหมาะสมของ DW ที่มี intrinsic value มูลค่าจริงเป็นแค่ส่วนประกอบไม่ถึง 5% ของราคาที่ซื้อ จะเป็นเรื่องที่เกินจริงมากเกินไป เพราะความน่าจะเป็นที่ของสิ่งๆนึงจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 20-30 เท่าในระยะเวลา 1 ปี มักจะเป็นลักษณะการพนันที่อัตราผลตอบแทนจะเป็นหลายสิบเท่าแบบนี้ เพราะโอกาสที่เกิดขึ้นจะน้อยมาก ผลตอบแทนจึงเหมาะสมกับโอกาสที่เป็นไปไม่ได้เหล่านี้
การเก็งกำไรมีหลักการที่ง่ายๆว่า ซื้อมาราคาเท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องขายให้ได้แพงกว่าที่ซื้อมา ซื้อแพงแล้วขายแพงกว่า ก็ได้ ขอให้อยู่ในทิศทางที่ถูกต้องก็จะสร้างกำไรได้ดี
Hedging ป้องกันความเสี่ยง
Derivative จะมีจุดประสงค์เริ่มต้นที่สร้างขึ้นมาเพิ่มป้องกันความเสี่ยงในการถือครองสินทรัพย์ที่ทิศทางราคาไม่เป็นประโยชน์ ราคาลดลงแต่ก็ยังต้องการถือต่อไป การใช้ derivative จะทำได้ในลักษณะซื้อประกันภัย ประกันว่าถ้าราคาลดลง derivative จะจ่ายชดเชยเป็นกำไรส่วนต่างมาให้
กลยุทธแบบนี้ถ้าซื้อ AOT ก็จะซื้อ long put AOT ที่เมื่อราคา AOT ลดลงราคา put ก็จะเพิ่มขึ้นสวนทิศทางกัน มูลค่าของ AOT ที่ลดลงก็จะเพิ่มขึ้นใน put ชดเชยกันไป และการซื้อประกัน ซื้อ long put จะใช้ทุนที่เล็กน้อยเมื่อเทียบกับการลงทุนใน AOT
มูลค่าการลงทุนที่น้อยใน Derivative ทิศทางมุลค่าที่สวนทิศกับสินทรัพย์ปกติ Derivative ก็คือการประกันชนิดนึงนั่นเอง
ในทางปฏิบัติการใช้ DW แม้จะคำนวณจาก ratio อัตราการแปลง DW เป็นหุ้นแม่ เราก็จะสามารถทราบถึงจำนวน DW ที่ต้องซื้อประกันเพื่อให้ครอบคลุมมูลค่าหุ้นแม่ได้
แต่เนื่องจากราคาที่ซื้อต้องจ่ายเมื่อซื้อ DW จะประกอบไปด้วย intrinsic มูลค่าจริงที่แปลงเป็นหุ้นแม่แล้วยังมี time value ที่เป็นราคาคาดหวัง การซื้อประกันชนิดนี้จึงต้องระมัดระวังให้มาก
การคำนวณว่าต้องซื้อประกัน DW ด้วยจำนวนเท่าใดจาก ratio เมื่อจะทำการซื้อ DW จริงอาจพบว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะราคา DW มี time value ที่มีมูลค่าแพงเกินความจำเป็นถ้าแพงน้อยกว่า 10% ของ intrinsic value ก็อาจเป็นที่ยอมรับได้ แต่ถ้าแพงระดับ 20 เท่าของ intrinsic value เมื่อเวลาผ่านไป มูลค่าประกันจะลดลงแบบน่าใจหาย เป็นการละลายเงินไปกับการประกันที่ไม่มีทางที่ให้ความคุ้มครองที่คุ้มค่า
แม้ว่าค่า premium จะแพงกว่ามูลค่ารวม(intrinsic+time) ไม่มาก 17%(ในลักษณะของหุ้นการซื้อแพงขนาดนี้นับว่าไม่ธรรมดาที่กล้าซื้อของแพงมากขนาดนั้น) แต่จะพบว่า premium อาจเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ไป ถึง 30%-50% ได้ในระยะเวลาไม่กี่เดือน เพราะ time value ลดค่า time decay ที่จะเกิดขึ้นทุกวันนั่นเอง
ถ้าราคา DW มีราคาที่เหมาะสม มี time value เป็นส่วนประกอบที่เล็กน้อยของราคาซื้อขาย การทำประกัน hedging ด้วย DW ก็น่าสนใจไม่น้อยเพราะจะใช้เงินลงทุนที่เล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับมูลค่าของหุ้นแม่
ทางออกหนึ่งที่เหมาะสมในการทำประกันคือการใช้ future contract ที่มี time value เล็กน้อย basis bias เช่น AOT ที่ 171 future contract ราคาที่เหมาะสม 173 , basis 2 อาจมองเป็น time value ซึ่งเป็นส่วนเล็กน้อยถ้าเทียบกับ 171 แม้ time value หรือ basis 2 จะกลายเป็น 0 ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากงวลนัก
การลงทุนใน future ก็ใช้เงินจำนวนน้อยเช่นกันแต่อาจมีข้อเสียที่ contract ที่นิยมมักจะมีอายุ 3 เดือน แม้จะมี contract ที่อายุนานกว่านั้นก็ไม่นิยม มี volume ไม่มากพอ เมื่อหมด 3 เดือนก็ต้องทำการ rollover หรือปิด contract เดิม เปิด contract เดือนใหม่
Combined Option Strategy
เนื่องจาก DW ที่เปลี่ยนชื่อมาจาก options จะสามารถใช้กลยุทธเดียวกับ option ได้ แต่มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถใช้การ short ขาย dw ได้
การ open short คือการส่งคำสั่งที่ต้องการขายสัญญาให้ผู้ซื้อ เป็นการขายสัญญาซึ่งมี แต่ broker เท่านั้นที่ทำแบบนี้ได้สำหรับ dw แต่ถ้าเป็น option นักลงทุนทุกรายจะสามารถทำแบบนี้ได้
การขาย open short จะทำกำไรได้เมื่อ สินทรัพย์อ้างอิงไม่เป็นไปตามสัญญา การขายสัญญา open short ก็จะสร้างกำไรให้ผู้ขายเมื่อสัญญาหมดอายุ
ข้อดีของ open short คือการขายจะได้เงินมาจากผู้ซื้อทันที แต่จะมีข้อเสียถ้าสินทรัพย์อ้างอิง สามารถมีระดับราคาไปตามที่สัญญาระบุ การขาดทุนจะมีอย่างไม่จำกัด
ข้อกังวลนี้เหมือนจะเป็นเรื่องที่น่าวิตกแต่ในความเป็นจริง ราคาสินทรัพย์จะเปลี่ยนแปลงไม่มากนักในเวลา 1 ปี เช่น ราคา AOT 170 จะไม่เหลือ 80 บาทในเวลา 1 ปี แต่จะขยับปีละ 20-30 บาทซึ่งเป็นระยะที่อาจคาดเดาได้ง่ายจากมุมมองของผู้ขาย
สำหรับรายย่อย สิ่งที่ทำได้คือการ open long ไม่ว่าจะเป็น long call ซื้อสัญญา call ที่ราคาจะเพิ่มตามสินทรัพย์ที่ราคาเพิ่มขึ้น , long put ซื้อสัญญา put ที่ราคาสวนทางกับทิศราคาสินทรัพย์
แต่ข้อเสียของ option, dw คือมี time decay ที่จะลดลงเองตามเวลาที่ผ่านไปโดยที่ราคาสินทรัพย์อ้างอิงไม่ได้ขยับไปไหน
ทางแก้ปัญหานี้คือใช้ combined options strategy ที่ให้ time decay ของ call ชดเชยด้วย time decay ของ put ซึ่งโดยปกติ time decay ของสินทรัพย์เดียวกันจะมีอัตราลดลงที่ใกล้เคียงกันเรียกว่าค่า theta hedging
โดยใช้ dw ที่มีค่า theta ที่เป็นค่า +- ใน สินทรัพย์เดียวกัน
แต่ในทางปฏิบัติ ก็ยังไม่เหมาะที่จะทำแบบนี้ได้เพราะ ราคา strike price ที่มีแค่บางราคา มี theta ที่ไม่สามารถหักลบกันได้ 0 พอดี การแก้ปัญหา เรื่อง time decay ก็จะทำได้ไม่สำเร็จ ถ้า theta รวมไม่เท่ากับ 0 จริง ราคาที่ซื้อก็จะถูก time decay ลดมูลค่าลงได้
Long Strangle
กลยุทธที่ไม่ต้องการทายทิศทาง Strangle กลยุทธประหลาด strange จะซื้อ long ทั้ง call และ put ในสินทรัพย์เดียวกันที่ strike price ที่ต่างกันซึ่งเหมาะการการคาดการณ์ว่าราคาของ สินทรัพย์จะเหวี่ยงแรงไปในทิศทางขึ้นหรือลงอย่างรุนแรง ถ้าเลยจุดคุ้มทุน break even(เกินราคา strike ไปอีก) ก็จะสามารถทำกำไรได้ ถ้าปล่อยให้หมดอายุไป
การทำเช่นนี้ถ้าช่วงห่างระหว่าง strike ของ call ,put อยู่ในช่วงแคบจะทำให้ค่า break even เกิดขึ้นง่ายกว่า strike ที่อยู่ห่างกันมากๆ ถ้า strike ของ call put เป็นจุดเดียวกัน จะเรียกว่า straddle หรือสรุปได้ว่า
long strangle: buy 1 OTM call/ buy 1 OTM put
long straddle: buy 1 ATM call/ buy 1 ATM put
OTM out of the money สัญญาที่ราคาสินทรัพย์ยังไม่ถึง strike price ไม่สามารถแปลงได้ มีแค่ time value ในราคาซื้อขาย
ATM at the money สัญญาที่สามารถแปลงสินทรัพย์ได้ ราคาอยู่ในบริเวณ strike price ใน option ที่สมบูรณ์ จะมี strike price ของ option ทุกระดับราคาที่เป็นไปได้ เช่น call 170, call 175, call 180 ถ้าราคามาอยู่ที่ 171 , call 170 จะเรียกว่า ATM แต่ถ้าราคาไปที่ 177 , call 170 จะเรียกว่า ITM in the money
กลยุทธ straddle ยากที่จะเป็นจริงเพราะ การขาย DW ของ broker จะเป็นกลยุทธ short strangle เสมอไม่มีแบบ straddle เมื่อไม่มีผู้ขาย ผู้ซื้อที่เป็นรายย่อยก็จะไม่สามารถทำได้ จึงมีแค่ strangle
กลยุทธ long strangle ดูเหมือนจะดีที่ไม่ต้องทำนายทิศทางของ ราคาสินทรัพย์ ขึ้นก็ได้กำไรจาก call ลงก็ได้กำไรจาก put
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ราคาซื้อที่ต้องจ่ายไปกับ C,P จะเป็นค่าที่แพงเกินความจำเป็นทำให้ break even จุดคุ้มทุนอยุ่ห่างจากความเป็นจริงมาก
จากภาพ payoff diagram นำกลยุทธ strangle ที่รายย่อยจะทำได้แค่ long strangle โดยมี strike call 170, strike put 224 ราคาที่ broker นำ DW ออกขาย underly อยู่ที่ 175 ราคาปัจจุบัน อยู่ที่ 171
โดยมี break even call ที่ 201 , break even put ที่ 160
ราคาปัจจุบันที่อยู่ 171 จากตอนที่ออก DW ที่ 175 ราคาแม้มีการ swing แต่ย้อนกลับมาที่เดิม และเวลา expired ที่จะเกิดขึ้นในเดือน มิย. อาจดูเหมือนนาน 6 เดือน แต่การที่ราคาจะ swing ไปที่ 201 ก็จะเป็นเรื่องที่ยาก ขึ้น 30 บาท
ส่วน break even put ที่อยู่ที่ 160 อาจมีโอกาสที่เป็นไปได้ แต่ก็โอกาสน้อยเช่นเดิมเพราะ ผู้ที่ออก broker มีแรงจูงใจบางอย่าง ต้องดูที่ payoff diagram ของฝั่งขาย dw broker ที่ใช้ short strangle
ณ วันที่ broker ออก DW broker ได้ซื้อ AOT ที่ 175 ไว้โดยมี model ดังนี้
ถ้าราคา ณ ราคาระหว่าง strike 170-224 broker ที่ออก dw จะได้กำไรเป็นค่าที่ขาย ณ วันแรก และไม่ต้องจ่ายคืนอะไรในวันที่หมดอายุ เป็นกำไรของ broker ที่ออก dw ล้วนๆ
ถ้าราคา ณ ราคาระหว่าง strike 170-224 broker ที่ออก dw จะได้กำไรเป็นค่าที่ขาย ณ วันแรก และไม่ต้องจ่ายคืนอะไรในวันที่หมดอายุ เป็นกำไรของ broker ที่ออก dw ล้วนๆ
โอกาสที่ ราคาจะตกอยู่ 170-224 มีโอกาสสูงมากที่จะเกิดขึ้น โอกาสที่ broker จะได้กำไรไปทั้งหมดจากการใช้กลยุทธนี้มีสูงมาก และ broker เองก็เป็นผู้ที่ถือครอง AOT จำนวนมาก ณ วันที่ออก DW มีกำลังอำนาจ จำนวนหุ้นเพียงพอ ที่จะผลักดันราคาให้อยู่ในช่วงราคาที่กว้างดังกล่าว
ถ้าราคา วิ่งเกิน 170-224 broker อาจขาดทุน ต้องบันทึกขาดทุนและจ่ายให้รายย่อยที่ long dw เป็นเรื่องที่ใครๆก็นึกออก ว่า broker คิดจะทำอะไร
คิดให้ละเอียดขึ้น ณ ราคาปัจจุบัน
broker ที่ออก DW จะมีกำไรถ้าราคา AOT อยู่ที่ 160-201 ต่างไปจาก model ณ วันออก DW เล็กน้อย
ที่เป็นเช่นนี้เพราะ time value ที่เปลี่ยนแปลงมูลค่าทำให้ break even เปลี่ยนแปลง
ที่ราคา 160-170, 175-201 คือราคาที่ รายย่อยเริ่มขาดทุนน้อยลง broker กำไรน้อยลง แต่ก็ยังกำไรอยู่ โดยถ้าราคาไปอยู่ระหว่าง 175-201 broker ก็ยังมีกำไรจาก AOT ตัวแม่ที่ซื้อไว้เมื่อออก DW
broker ที่ออก DW จะมีกำไรถ้าราคา AOT อยู่ที่ 160-201 ต่างไปจาก model ณ วันออก DW เล็กน้อย
ที่เป็นเช่นนี้เพราะ time value ที่เปลี่ยนแปลงมูลค่าทำให้ break even เปลี่ยนแปลง
ที่ราคา 160-170, 175-201 คือราคาที่ รายย่อยเริ่มขาดทุนน้อยลง broker กำไรน้อยลง แต่ก็ยังกำไรอยู่ โดยถ้าราคาไปอยู่ระหว่าง 175-201 broker ก็ยังมีกำไรจาก AOT ตัวแม่ที่ซื้อไว้เมื่อออก DW
กำไรที่แท้จริงของ broker จะเป็นกำไรที่ได้มาอย่างง่ายๆ ณ วันที่ออก dw และมีการหักส่วนต่างในวันที่หมดอายุ ที่มีโอกาสน้อยมากที่จะขาดทุนได้ หุ้นก็อยู่ในมือของ broker นั้นเยอะด้วย
จุด break even จะเป็นจุดที่น่าพิจารณา ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
160-201 คือ killing zone ที่ broker จะได้เปรียบรายย่อยนั่นเอง
จุด break even จะเป็นจุดที่น่าพิจารณา ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
160-201 คือ killing zone ที่ broker จะได้เปรียบรายย่อยนั่นเอง
ณ ราคาปัจจุบัน 171 ภาพขวาบน ก็ได้เปรียบเทียบว่าราคานี้ กลยุทธแบบไหนจะได้กำไร ส่วนมากจะขาดทุนโดยถ้าซื้อ AOT ตัวแม่ 175 ก็จะขาดทุนเล็กน้อย แต่ถ้าใช้ DW ในฝั่งรายย่อย call put หรือ long strangle ก็ขาดทุนรุนแรงแทบทั้งสิ้น มีแต่ short strangle ของ broker ที่กำไรยังดีอยู่
ข้อน่าสังเกตจากภาพซ้ายบนคือ model value ที่ intrinsic ควรเป็นส่วนมากของราคาซื้อขายแต่ในความเป็นจริงกลับสลับกับ value model สร้างความเสียเปรียบให้รายย่อยมากจนเกินไป
ข้อน่าสังเกตจากภาพซ้ายบนคือ model value ที่ intrinsic ควรเป็นส่วนมากของราคาซื้อขายแต่ในความเป็นจริงกลับสลับกับ value model สร้างความเสียเปรียบให้รายย่อยมากจนเกินไป
สรุป
การลงทุน DW หรือ option ฝั่ง long กลยุทธใดที่รายย่อยใช้ ต้องระมัดระวังอย่างมาก เพราะจะเป็นการขยายขนาดกำไรและขาดทุนได้มาก จากกลยุทธที่หลากหลายและเป็นไปได้ การเก็งกำไร ซื้อแพง(เพราะ time value แพงมากเมื่อเทียบกับ intrinsic) แล้วไปขายที่แพงกว่าจะเป็นกลยุทธเดียวที่เหมาะสม การคือครอง DW ยาวนาน หรือปล่อยให้หมดอายุ เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม เหมือนการเก็งกำไรในใบจองคอนโดที่ไม่มีผู้ต้องการอยู่อาศัยจริง ขายใบจองต่อไปเรื่อยๆ DW อาจเป็นงานอดิเรกของนักเก็งกำไรได้ แต่ถ้าใช้เป็น port ลงทุนหลักจะเจอสภาพ time decay ที่กัดกร่อน port ลงทุนหลักได้อย่างน่ากลัว
Derivatives are financial weapons of mass destruction.
Warren Buffett
Derivatives are financial weapons of mass destruction.
Warren Buffett
คลิ๊กที่ภาพสำหรับรายละเอียด
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น