วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Stop Loss: ขายขาดทุน จะช่วยให้กำไรเพิ่มขึ้นได้หรือไม่

Stop Loss จะเป็นการขายขาดทุน ณ ที่จุดที่กำหนดไว้ว่า ถ้าราคาย้อนลงมา ณ จุดที่จะทำอันตราย หรือสร้างความเสี่ยงเป็นขนาดขาดทุนที่จะเกินจุดที่ยอมรับได้ จะยอมขาย แม้จะเป็นการขายขาดทุนก็จะกระทำเพื่อหยุดการขาดทุนที่จะสร้างความเสียหายขนาดใหญ่ได้ บทความได้ทดสอบ ขนาด Stop Loss ว่ามีผลอย่างไรต่อกำไรโดยรวม

เวอร์ชั่น Youtube HD
Stop loss มักนิยมใช้โดย trader ที่วางแผนก่อนการซื้อทุกครั้ง ไม่ใช่ซื้อไปแล้วเมื่อราคาลงมาจนทนรับความเสียหายไม่ได้แล้วขายขาดทุนไปซึ่งลักษณะนั้นจะเรียกว่า Cut Loss ซึ่งมักจะเกิดความเสียหายร้ายแรงมากแล้วเช่น >-10%
แต่ Stop loss จะวางแผนเป็น Exit plan กรณี Loss ไว้ตั้งแต่ก่อนการเริ่มซื้อ Stop loss สามารถสร้างได้หลายแบบ
  • Fix Stop Loss: กำหนดเป็น % จากราคาต้นทุน cost, fix stop loss  level= cost-fix%
  • Volatile Stop Loss: จะใช้ค่าความแกว่ง volatility โดยอาจใช้ indicator ATR เป็นเครื่องมือ และจะกำหนดไว้ใน ลักษณะที่ห่างจากการแกว่งตัวปกติเช่น volatile stop loss level=cost-2.5*ATR
  • Indicator Stop loss: นิยมใช้เส้นค่าเฉลี่ยเป็นจุด exit เช่น indicator stop loss level=sma(10)
  • Signal Stop Loss: จะสร้าง indicator signal ขึ้นมาเพื่อให้เกิด exit signal อาจเป็น signal เดียวกับ sell signal หรือต่างชนิดกันก็ได้ เช่น stop loss when stoch %K<%D แต่อาจ Buy signal = MACD>Signal หรืออาจใช้ %K<%D เป็นทั้ง sell signal และ stop loss signal
บทความจะทดสอบ stop loss แบบ fix เพื่อง่ายต่อการสร้างและทดสอบ โดยเทียบ fix% เป็นสองระดับ โดยเทียบกับ indicator MACD, Stoch ปกติ ใน SET 25 ปี 2531-2555 ที่มีผลตอบแทนทบต้น 6%

ผลการทดสอบพบว่า ระดับ fix% ที่แตกต่างกันใน indicator ต่างกัน ให้ผลตอบแทนที่ต่างกัน คือไม่สามารถระบุได้ว่า fix% ค่าใดจะเหมาะสมในทุกกลยุทธ กลยุทธ MACD fix% ที่มากกลับให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า แต่ Stoch fix% ที่น้อยให้กำไรที่ดีกว่า
เมื่อดูที่ profile MACD เป็นครั้งแรกๆที่ payoff มาก บางทีก็ไม่ได้ให้ผลตอบแทนรวมที่ดีได้ และสังเกตเหมือนว่า payoff ที่เพิ่มขึ้นไปลด winratio ให้แม่นยำน้อยลง ความสัมพันธ์ระหว่าง payoff กับ winratio จะเป็นลักษณะที่อาจตรงข้ามกันก็เป็นได้ คือถ้าเพิ่ม payoff จะแม่นน้อยลง
ดูที่ profile Stoch แทบไม่แตกต่างกันมากนักระหว่างมี stop loss และไม่มี การทำ stop loss ใน stoch ไม่ได้ช่วยให้ผลตอบแทนดีขึ้น เป็นแต่ทำงานมาก เงื่อนไขมากแต่ไม่ได้ช่วยให้ดีขึ้น

การที่จะกำหนดระดับ stop loss ไว้ที่ค่า 2% ในแบบที่นิยมกันใน trader อาจไม่ใช่กลยุทธที่เหมาะสมเสมอไป เพราะการทำเช่นนั้นอาจไปรบกวน trend ที่ดี ทำให้ exit ก่อนเวลาที่ควรถือ hold การทดสอบกลยุทธที่มีการเพิ่ม stop loss จึงจะบอกได้ว่าการทำ stop loss ระดับใดจะเหมาะสม
ถ้าสังเกตจะพบว่า การที่ไม่มี stop loss เลย จะให้ผลตอบแทนระดับกลางๆ ซึ่งก็เป็นที่น่าพอใจ เพราะกลยุทธเหล่านี้จะมีลักษณะ signal exit อยู่ในตัวเองอยู่แล้ว เมื่อเกิด sell signal ก็เป็น การ exit ที่คล้ายกับการ exit ด้วย stop loss หรือ signal stop loss นั่นเอง

การทดสอบกลยุทธจะเป็นการทดสอบในอดีต ซึ่งไม่ได้บอกว่าอนาคตจะยังคงประสิทธิภาพดีที่ค่า stop loss ที่ได้ทดสอบ การไม่มี stop loss แต่ใช้ signal exit อาจเป็นทางเลือกที่ดูเหมาะสม แม้ได้กำไรไม่มากที่สุด แต่ก็ได้ผลตอบแทนในระดับกลาง
การสร้างระบบกลยุทธให้สลับซับซ้อนโดยหลงเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่ดี ใครๆก็สอน ทำแล้วดูดี มีองค์ประกอบมาก มีศัพท์ฟังดูแล้วน่าเชื่อถือ อาจจะไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่ดีจริง การสร้างกลยุทธที่ไม่ซับซ้อน มีความเรียบง่าย อาจเป็นวิธีที่เหมาะสมดีอยู่แล้ว ทำงานน้อยแต่ได้ผลงานที่ดี ดีกว่า ทำงานเยอะแต่ได้ผลลัพธ์เท่าเดิม

Success consists of going from failure to failure without loss of enthusiasm.
Winston Churchill


ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น