วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557

Muti Timeframe: เล่น timeframe ที่ใหญ่ขึ้น trend ที่ดูดี ให้ผลลัพธ์ดีจริงหรือไม่

การลงทุนเล่นหุ้นตามสัญญาณเทคนิคโดยปกติมักจะประสบปัญหา false signal, sideway เข้าที่ราคาที่เทคนิคแนะนำ แต่ราคาก็ย้อนลงต้อง stop loss บ่อยครั้ง เมื่อเกิดปัญหาความไม่แม่นยำแล้วต้องการแก้ปัญหานี้ ทางเลือกนึงคือการเปลี่ยน timeframe ที่มีขนาดใหญ๋ขึ้นอาจะเป็น weekly timeframe ที่สร้างลักษณะ trend ที่ดูชัดเจนมากขึ้นกว่า timeframe ที่เล็กกว่าใน daily บทความนำเสนอผลการทดสอบ timeframe ที่ใหญ่มากขึ้นว่าให้ผลลัพธ์เป็นเช่นใด

เวอร์ชั่น Youtube HD
การลงทุนเล่นหุ้นแบบ technical analysis มักจะใช้ indicator หรือ technical analysis เป็นจุดตัดสินใจในการเข้าออก ซื้อขาย บ่อยครั้งที่การเข้าออกแต่ละหนจะเกิดความผิดพลาดได้ เนื่องจากลักษณะการเคลื่อนไหวของราคามีลักษณะ sideway เคลื่อนไหวไปในทิศทางนึงสั้นๆแล้วย้อนกลับมาระดับราคาเดิม
การเลือก indicator หรือ technic ก็มีส่วนที่จะสร้างสัญญาณซื้อขายจำนวนมากน้อยต่างกันได้ indicator ที่มีความ sensitive สูง เช่น stochastic จะสร้างจำนวนสัญญาณมากกว่า indicator ที่เคลื่อนไหวช้าแบบ ema เส้นค่าเฉลี่ยตัดกัน

แต่อีกปัจจัยที่สำคัญอย่างนึงคือ การเลือกใช้ timeframe ซึ่ง indicator จะนำจำนวนราคา มักจะเป็นราคาปิด มาคำนวณหาค่าของ indicator เช่น ema 10 วัน จะใช้ระดับราคา 10 วันย้อนหลังมาคำนวณค่า ema ขณะนั้น ถ้าเปลี่ยน timeframe เป็น weekly  ema 10 จะใช้ระดับราคาของ 10 สัปดาห์มาคำนวณค่า ema ที่อยู่ใน timeframe weekly จะมีการเปลี่ยนแปลงที่น้อยกว่า ema ใน daily
การเปลี่ยนแปลงที่ช้ากว่า ก็จะสร้าง สัญญาณซื้อขายที่น้อยกว่า อาจคิดว่าแม่นยำกว่า มีกำไรมากกว่า
ซึ่งการคิดแบบนี้ คิดตามดูแล้วมีเหตุผล แต่เหตุการณ์จริง สิ่งที่เกิดขึ้นจริงต้องมีการผ่านการทดสอบจริง

คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูรายละเอียด

ผลการทดสอบ Timeframe ที่ใหญ่ขึ้น

การทดสอบจะเลือก indicator  MACD,MACD Signal(Histrogram), Stochastic, RSI ทดสอบใน SET 25 ปี พ.ศ. 2531-2555 ซึ่งมีผลตอบแทนทบต้นที่ 6%
โดยทดสอบใน timeframe ปกติ daily 1 แท่งราคาเท่ากับ 1 วัน ในภาพจะเป็นกลยุทธที่ขึ้นต้นด้วย D_
ทดสอบใน timeframe ที่ใหญ่ขึ้น Weekly 1 แท่งราคาเท่ากับ 1 สัปดาห์ ในภาพจะเป็นกลยุทธที่ขึ้นด้นด้วย W_ 

นอกจากนั้นเพิ่ม กลยุทธ Multi timeframe M_ ซึ่งจะรอให้ timeframe ใหญ่ weekly มีสัญญาณซื้อก่อน แล้วรอคอยสัญญาณซื้อที่จะทำการซื้อจริงใน timeframe เล็กกว่าคือ daily จึงทำการซื้อขาย ลักษณะนี้จะเป็นที่นิยมพอสมควรโดยการใช้ timeframe ที่ใหญ่เป็น guildeline โดยมีแนวคิดว่าจะกรองขาลง หรือการ rebound ราคาเด้งชั่วคราวออกด้วย timeframe ที่ใหญ่ขึ้น

ผลการทดสอบพบว่า ใน Timeframe ที่ใหญ่กว่าได้ผลตอบแทนรวมที่ลดลงเกือบทุกกลยุทธ มี MACDHist ที่ Timeframe ที่ใหญ่ให้ผลตอบแทนมากกว่า timeframe เล็กแต่ก็ไม่มากนัก ต่างกันเพียงเล็กน้อย  เราอาจสรุปได้ว่า timeframe ใหญ่กว่าไม่ได้ทำผลตอบแทนรวมที่ดีกว่า timeframe เล็ก
ผลตอบแทนรวม=ผลตอบแทนทบต้นต่อปี- commission 0.15%*#transaction

ที่เป็นเช่นนี้ ถ้าดูไปที่ #transaction จะพบว่า timeframe ที่ใหญ่ให้จำนวน transaction ที่ลดลงมาก มีโอกาสในการเล่นน้อยลง 
สำหรับ payoff คือ ขนาดกำไร/ขนาดขาดทุน มีแค่ MACDHist เท่านั้นที่ timeframe ใหญ่ทำได้ดีกว่า timeframe เล็ก แต่กลยุทธอื่นๆ payoff ของ timeframe ใหญ่ทำได้ไม่ดีนัก กลยุทธส่วนมากไม่ได้สร้างกำไรขนาดใหญ่ขึ้นถ้าเทียบกับขนาดขาดทุน ขนาดกำไรอาจมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ขนาดขาดทุนก็เพิ่มขนาดตามมา ความตั้งใจที่จะอยากได้กำไรขนาดใหญ่ขึ้น แต่ไม่ได้คำนึงถึงขนาดขาดทุนที่มักจะมีสัดส่วนที่เพิ่มตามมาอาจเป็นความคิดมองโลกในแง่ดีเกินไป มองสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงมุมมองเดียว มองว่าจะได้กำไรเพิ่มขึ้นแต่ไม่นึกถึงขนาดขาดทุนที่เพิ่มตามมา
สำหรับ %winratio คือความแม่นยำของระบบ % ครั้งที่กำไร พบว่า timeframe ที่ใหญ่ไม่ได้สร้างความแม่นยำอย่างที่มักกล่าวอ้างกัน กลยุทธยังให้ความแม่นยำใกล้เคียง timeframe ที่เล็กกว่า
สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นลักษณะประจำตัวของกลยุทธที่แม้จะเปลี่ยน timeframe ความแม่นยำของกลยุทธก็ยังคงเดิมไม่สามารถปรับปรุงให้เปลี่ยนแปลงได้มากนัก

ลักษณะนี้สอดคล้องกับแนวคิดของนักลงทุนระยะสั้นที่รู้ว่าจำนวนรอบที่ซื้อขาย ยิ่งจำนวนรอบเยอะจะสร้างผลตอบแทนรวมที่ดีถ้า กำไรมากกว่าการขาดทุน แต่ถ้าขาดทุนมากกว่ากำไร การเพิ่มจำนวนรอบคือการเร่งไปสู่หายนะให้เร็วขึ้น

สรุป

การใช้งาน timeframe ที่ใหญ่ขึ้น หรือเลือก timeframe ที่ดีในการเล่นหุ้นเชิงเทคนิค ถ้าใช้วิธีคิดเหตุผลบางวิธีเช่นการเลือกใช้ timeframe ที่ใหญ่จะทำให้ระบบดีขึ้นนั้น บางองค์ประกอบเช่นจำนวน transaction จะลดลงได้จริง แต่ก็ไม่ได้หมายถึงผลตอบแทนรวมจะดีขึ้นอย่างที่ต้องการ
การลดจำนวน transaction ลงเพื่อหวังกินคำใหญ่ ได้ผลตอบแทนขนาดใหญ่ต่อครั้ง อาจไม่ได้หมายถึงผลตอบแทนรวมที่มากขึ้น
การทดสอบด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ(ใช้ amibroker ในบทความนี้) จะเปิดเผยความคิด ความเชื่อเหล่านั้นได้ 
และเป็นที่น่าสังเกตว่า % winratio ของกลยุทธส่วนมากจะมีความแม่นยำเพียง 50% ความพยายามในการปรับปรุงระบบหรือกลยุทธให้มีความแม่นยำขึ้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติความเป็นจริง ถ้าระบบหรือกลยุทธที่ใช้งานมีความแม่นยำเพียงเท่านี้ สิ่งที่ควรปรับปรุงคงไม่ใช่ความแม่นยำที่ปรับอย่างไรก็ได้ค่าที่ใกล้เคียงค่าเดิม แต่อาจเป็นส่วนประกอบอื่นๆที่อาจสำคัญมากกว่าความแม่นยำซึ่งเป็นแค่ส่วนประกอบเล็กๆของระบบทั้งหมด

การเลือกใช้งานแนวคิด กลยุทธหรือเทคนิคใดๆ ตามที่ตำราหรือการเรียนการสอนต่อๆกันมา คงจะไม่เพียงพอที่จะสร้างผลตอบแทนได้อย่างดี และอาจไม่ตรงตามลักษณะธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริง การคาดเดา คาดคะเนมักจะให้ผลลัพธ์ที่คาดไม่ถึงถ้าวิธีเหล่านั้นถูกนำมาทดสอบอย่างจริงจัง

To accomplish great things, we must not only act, but also dream; not only plan, but also believe.
Anatole France

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น