วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Signal Confirm: รอยืนยันจาก indicator signal อื่น เพิ่มหรือลดกำไร

Indicator เป็นตัวบอกสถานะปัจจุบันของหุ้นที่ซื้อขายในตลาด โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานจริงๆของ บ. มีหลักคิดว่า the market discounts everything. indicator บางแบบจะให้สัญญาณซื้อขาย signal กำหนดเป็นจุดเข้าออกได้ ในปัจจุบัน indicator ที่สร้างมาจากสูตรคณิตศาสตร์ ที่อาจมีมากเป็นหลายร้อยแบบ อาจสร้างความสับสนในการเลือกใช้ ทางออกนึงที่ดูจะมีวิจารณญาณ, ยอดนิยมและต้องใช้ประสบการณ์มากคือ การใช้ indicator signal อีกอัน มา confirm indicator signal อีกอัน ในบางครั้งอาจใช้ มากกว่า 2 แบบ confirm ซึ่งกันและกัน บทความนำเสนอผลการทดสอบ signal ที่มีการ confirm แค่ 2 แบบซึ่งก็ให้ผลที่นำไปประยุกต์ใช้ในกรณีที่มากกว่า 2 ได้
เวอร์ชัน Youtube HD
Indicator ยอดนิยมที่ทุกกราฟเทคนิคจะมีให้เสมอ คือ MACD,Stochastic, RSI ในกรณี MACD มักจะให้ signal โดยเส้น MACD ตัดเส้น signal หรือ EMA(MACD,9) ของตัวเองเป็นสัญญาณซื้อขาย ในการทดสอบ จะเรียก MACD คือ MACD ตัด 0 ซึ่งก็คือ เส้นค่าเฉลี่ยสั้นตัดกับเส้นค่าเฉลี่ยยาว ส่วน MACD ที่ใน program ทั่วๆไปเรียกในบทความจะเรียกว่า Hist:MACD>signal ( signal ของ MACD กับ indicator signal เรียก signal เหมือนกันให้ดูความหมายข้างเคียง)
การทดสอบลักษณะ confirm จะใช้ logic AND ของสอง signal ในเหตุการณ์จริง เมื่อ indicator A มี buy signal จะไม่ซื้อจะรอจน indicator B มี buy เช่นกัน โดยที่ A and B เป็น buy signal ในขณะนั้นๆ ในกรณี sell ก็จะรอเช่นกัน การทำแบบนี้จะให้ผลที่ใกล้เคียงการใช้งานทั่วๆไป ที่ signal เรียกจะเป็นแค่เตือน อีก signal จะเป็นคำสั่งที่ต้องซื้อขายจริง

ผลการทดสอบพบว่า ผลตอบแทนทบต้นต่อปี-ค่า commission จะลดลงเมื่อเทียบกับการใช้ indicator เดี่ยวๆ ถ้ามองจากมุมของ indicator ที่ให้ผลตอบแทนมาก แต่ถ้ามองจากมุมของ indicator แย่จะให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะบางจังหวะที่กำไรจะถูกเพิกเฉยเพราะ signal มาไม่พร้อมกัน
ในด้านจำนวน trade มักจะเพิ่มขึ้นไปใกล้เคียง indicator แบบที่ให้จำนวน trade มาก คือต้องทำงานหนักเท่าที่ indicator ตัวที่ trade เยอะสั่งให้ทำ

ที่น่าประหลาดใจการ confirm ด้วย RSI กลับทำให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น แม้จะเล็กน้อยแต่ก็น่าสนใจ เมื่อดูที่เงื่อนไข RSI>30 แล้วให้อีก signal เป็นตัว confirm น่าจะเหมือนการห้ามซื้อใน oversold zone ในoversold zone ถ้ามี buy signal ควรหลีกเลี่ยงจะเป็นเรื่องดีกว่า ขัดสามัญสำนึกของการตามล่าหาของถูก
การ confirm signal ในแบบผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นอาจมีโอกาสที่จะสร้างในลักษณะเดียวกับ RSI confirm ที่จำกัด zone อันตรายที่เล่นไปก็มีแต่ขาดทุนได้ แต่ในที่นี้การเพิ่มขึ้นเล็กน้อยของผลตอบแทนด้วยการเพิ่มจำนวน trade อาจบอกไม่ได้ชัดว่าเป็นการยืนยันผลดีของการทำ confirm signal, RSI เดี่ยวๆ ปกติจะมีจำนวน trade น้อยมากที่ประมาณ ปีละ 1 ครั้ง ประมาณ 30 ครั้ง/ 25 ปี แต่ถ้าทำ confirm จำนวน trade จะเพิ่มขึ้นเกิน 10 เท่า signal ที่ confirm ที่คู่กับ RSI มีอิทธิพลกับ signal เป็นสัดส่วนที่สูงกว่า RSIมาก

ในด้านความแม่นยำ พบว่าไม่ได้แม่นยำมากขึ้น คือแม่นยำเท่าเดิม indicator signal ปกติก็ไม่แม่นเยอะไปกว่า 50% ถ้าผสมสองอย่างเข้าด้วยกันคงจะไม่แม่นเพิ่มขึ้น
ส่วน payoff ขนาดกำไรกับสัมพันธ์กับขนาดผลตอบแทนเช่นเดิม indicator signal ที่ให้ผลตอบแทนสูงจะมี payoff ที่สูง มีบางตัวที่ไม่เป็นแบบนั้น แต่พอจะบอกแนวโน้มได้ เป็นอีกครั้งที่ payoff ยืนยันกำไรได้ดีกว่า ความแม่นยำ
ในกราฟเทคนิคทั่วๆไป มักจะมี stoch signal และ MACD cross signal (ในรูปเป็น Hist ที่ผลตอบแทนต่ำ) ให้ใช้งานได้สะดวก ถ้าเอาทั้งสอง indicator มาใช้ confirm ร่วมกันผลตอบแทนต่ำสุด เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังในการทำในสิ่งที่ไม่รู้อย่างยิ่ง

การทำ signal confirm โดยการใช้ indicator มากกว่า 1 ในการให้สัญญาญซื้อขาย ถ้ามองไปในยุคที่มีการคิดการ indicator จำนวนมากประมาณ 20 ปีที่แล้วในปี 1990 นักลงทุนที่ใช้ indicator ต่างไม่มีผลการทดสอบ หรือวิธีที่จะทดสอบ ไม่สามารถจะระบุได้ชัดว่า indicator แบบไหนจะดีจริงหรือไม่ เมื่อไม่แน่ใจก็พยายามใช้ indicator วิธีอื่นๆ มาช่วยลดความกังวล ถ้า indicator แบบนี้ไม่ดี อีกอันก็น่าจะดีได้ คงไม่โชคร้ายเลือกไม่ดีมาผสมกัน ในบางครั้ง อาจผสมกันมากถึง 5 แบบ ซึ่งการทำเช่นนี้ในไทยก็คงยังนิยมไปอีกนาน
เมื่อมาถึงยุค hedge fund ในปลาย 1990 เมื่อการทดสอบทางด้านสถิติ programming tools เริ่มมีบทบาทการสร้างและทดสอบความคิดใน 20 ปีก่อนก็เริ่มเป็นไปได้ การทดสอบ indicator เดี่ยวๆหรือแบบผสม combined หรือจะเรียกว่า expert advisor ก็สามารถทำได้ และได้เปิดเผยความคิดความเชื่อเดิมได้
ในไทยการเปิดเผยเรื่องแบบนี้หาได้ยาก เพราะยังเป็นยุคเริ่มต้นของการพัฒนาที่เชื่อการทำนายมากกว่าหลักฐานทางสถิติ มักจะเชื่อนักวิเคราะห์ที่มีเสน่ห์ พูดจาถูกใจนักลงทุนมากกว่าผลงานในอดีต
ในต่างประเทศการพัฒนาเรื่อง programming trading พัฒนาไปมากไปจนระดับที่หลัก 1 milli second(1/1000 วินาที)มีผลต่อกำไรขาดทุนได้มหาศาล คงไม่ต้องสงสัยว่าจะมีนักวิเคราะห์แบบไหนที่จะตัดสินใจได้เร็วภายใน 1 msec

ในกรณี pyramid trading ซึ่งเป็นวิธีที่เลี่ยงความไม่แน่ใจของ indicator ไม่ทุ่มเงินทั้งหมดไปกับการ trade ครั้งใดครั้งหนึ่ง แบ่งออกเป็นส่วนๆ trade ไปตาม indicator แบบต่างๆ บางทีเรียกว่า signal confirm เหมือนกัน แต่การกระทำโดยเนื้อแท้คือการ trade ด้วย indicator ที่ต่างกัน ที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันทาง logic เป็นแต่เพียงการแบ่งเงินกระจายออก ผลลัพธ์ของการกระจาย ก็ได้ผลลัพธ์เหมือนการกระจายความเสี่ยงทั่วไป ที่ความเสี่ยงลดลง กำไรก็จะลดลงไปด้วย จนมีคำพูดว่า ความเสี่ยงสูง กำไรสูง ความเสี่ยงต่ำ กำไรต่ำ ที่มักนิยมพูดให้เราเชื่อกัน ในความเป็นจริง ถ้าเปรียบเทียบ วิธี pyramid trading กับ single indicator signal แบบ pyramid จะมีกำไรน้อยกว่า ความเสี่ยงขาดทุนก็น้อยกว่าจริง แต่ถ้าเปรียบเทียบกับความพยายามและผลตอบแทนที่กลับมาการทำ pyramid มีความยุ่งยากมากกว่าการซื้อครั้งเดียวที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าแน่นอน ทำงานยากกว่าได้ผลตอบแทนน้อยกว่า
การทำ pyramid จะให้ผลตอบแทนที่ลดลงเสมอ จะไม่มีทางเพิ่มขึ้นเกินค่ามากและจะไม่แย่ลงไปเกินตัวที่แย่ จะได้ผลตอบแทนกลางๆ การทำ pyramid จะสร้างความสบายใจโดยผลักภาระให้การตัดสินหลายครั้งเพราะไม่มั่นใจในวิธีที่ใช้ แต่ผลตอบแทนก็จะไม่มีทางดีไปกว่าการใช้ signal เดี่ยวๆ

จากผลการทดสอบเราจะเห็นกว่า ไม่ว่าจะผสมหรือ confirm signal จะไม่ได้ผลตอบแทนที่ดีเพิ่มขึ้น การใช้ indicator ตัวที่ดีตัวเดียว จะให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจกว่า การ confirm signal อาจให้ความสบายใจได้ในกรณีที่เราไม่รู้ผลลัพธ์ของ indicator นั้นๆ
แนวคิดที่ทำให้ระบบซับซ้อนเพื่อหวังให้ระบบดีขึ้น มักเป็นแนวคิดที่อาจไม่เหมาะกันการ trade ที่มีความไม่แน่ไม่นอนสูง การกำหนดเงื่อนไขจำนวนมากมักจะทำให้กำไรที่ควรได้หลุดมือไปเพราะระบบที่ซับซ้อนมีลักษณะจำกัดรูปแบบที่บังคับให้ตลาดเป็นรูปแบบที่ซับซ้อนที่เหมือนกับระบบจึงจะ trade ได้ ต่างจากระบบที่ง่ายๆธรรมดา ที่ไม่ว่าจะมารูปแบบไหนก็ไม่ได้สนใจมากนัก ขอให้เข้าเงื่อนไขที่ง่ายๆของระบบก็ trade ได้แล้ว คำตอบจึงมาอยู่ที่ trend following ที่ไม่ว่าจะทำเป็น pattern อะไรมาก็ไม่ได้สนใจขอให้ เป็น trend ระบบก็จะเกาะ trend ไปจนจบ

ถ้านักวิเคราะห์พูดถึงเรื่อง signal confirm เมื่อใด ก็ขอให้นึกไว้ในใจว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้วเป็นเรื่อง ล้าสมัยย้อนยุคใช้งานได้ไม่ดีเท่า indicator signal เดี่ยวๆ จะให้ไปอธิบายนักวิเคราะห์ว่าวิธีที่ทำอยู่ไม่ดี ยากที่จะมีคนเชื่อและเห็นด้วย แม้จะเห็นการทดสอบแบบหลายแง่หลายมุม ก็เรื่องเป็นเรื่องย้อนยุค คนที่อยู่ในยุคนั้นจะให้คิดแบบปัจจุบันได้อย่างไร

Make everything as simple as possible, but not simpler.
Albert Einstein





ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น